Page 227 - kpi21190
P. 227
227
เอกสารประกอบ
การสัมมนา
กลุ่มย่อยที่ 3
เหล ยวหล ง ลห ้า
าร า ระ ว ารประชาธิปไตย
ละความเหลื่อมล้ำ
นิธิ เนื่องจำนงค์*
บทนำ
ประเด็นเกี่ยวกับประชาธิปไตยและความเหลื่อมล้ำนับเป็นสองประเด็น
ที่กำลังได้รับความสนใจและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางทั้งในแวดวงวิชาการ และ
นโยบายสาธารณะ ที่ผ่านมาสองประเด็นนี้มักจะได้รับการศึกษาในลักษณะที่
“แยกขาด” ออกจากกัน นักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการประชาธิปไตยมักจะนำ
ศึกษาเชื่อมโยงกับปัจจัยอื่นๆ เป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ โครงสร้าง
ทางสังคม วัฒนธรรมการเมือง บทบาทชนชั้นนำ และปัจจัยภายนอก (ดูไชยวัฒน์ ค้ำชู และ
นิธิ เนื่องจำนงค์, 2555) ปัจจัยในเรื่องความเหลื่อมล้ำเพิ่งได้รับการสนใจในหมู่นักวิชาการ
ด้านนี้เมื่อไม่ถึงสองทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น การศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างกระบวนการประชาธิปไตย และความเหลื่อมล้ำได้มีพัฒนาการไปอย่างมาก ทั้งในเชิง
ทฤษฎี การตั้งข้อถกเถียง และการพิสูจน์ข้อถกเถียงผ่านกรณีศึกษา และระเบียบวิธีวิจัย
ในรูปแบบต่าง ๆ
สำหรับการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับความเหลื่อมล้ำนั้น หากไม่นับงานของ
ไซมอน คุซเนตส์ (Simon Kuznets) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ที่ศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำ และตีพิมพ์ตั้งแต่ปีค.ศ.1955 (Kuznets,
1955) และส่งอิทธิพลอย่างมากต่อแวดวงเศรษฐศาสตร์ และการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคหลัง
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร