Page 225 - kpi21190
P. 225
225
พบว่ามีสัดส่วนกว่าร้อยละ 68 ของประเทศทั้งหมด ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับไปสู่
เผด็จการอำนาจนิยมที่ดำรงระบอบประชาธิปไตยไว้ได้ไม่ถึง 6 ปี ขณะที่อีกข้อสังเกตหนึ่ง
ที่น่าสนใจ นั่นคือ ประเทศที่ประชาธิปไตยย้อนกลับเปรียบเทียบกับประเทศที่ประชาธิปไตย
ไม่ย้อนกลับที่สามารถรักษาประชาธิปไตยไว้ได้ มีประชากรที่อยู่ในระดับยากจนร้อยละ 40
เมื่อเทียบกับประเทศที่รักษาไว้ที่มีเพียงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด
หากมองในเชิงรัฐศาสตร์เปรียบเทียบแล้วนั้น โจทย์สำคัญของงานประชุมวิชาการครั้งนี้
คือ เรื่องคุณภาพประชาธิปไตย ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบของการศึกษาทางรัฐศาสตร์ในสองมิติ
มิติแรกคือ ทิศทางที่จะทำอย่างไรให้ก้าวไปข้างหน้าจากการเลือกตั้งไปสู่เสรีนิยม หรือจาก
เสรีนิยมไปสู่เสรีนิยมแบบก้าวหน้า หรือจากการเลือกตั้งไปสู่เสรีนิยมแบบก้าวหน้าไปเลย
ขณะที่มิติที่สองคือ จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดประชาธิปไตยย้อนกลับ ดังนั้นโจทย์ใหญ่ของ
ประเทศไทยคือ เราจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดประชาธิปไตยแบบย้อนกลับ ยกตัวอย่างเช่น กรณี
ประเทศในโลกที่สามส่วนใหญ่จะเกิดประชาธิปไตยแบบย้อนกลับ
2. ความเหลื่อมล้ำ (inequality) หากมองย้อนไปในยุค พ.ศ. 2504 เป็นยุคที่
ผู้กำหนดนโยบายมองความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องปกติ แต่ในปัจจุบันความเหลื่อมล้ำได้กลายเป็น
ปัญหาและความท้าทายของสังคม แม้กระทั่งแนวทางการนำนโยบายไปปฏิบัติยังไม่เกิดผลอย่าง
เป็นรูปธรรม เราต้องกลับมาคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะลดความเหลื่อมล้ำ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนิน
นโยบายภาษีจะต้องทำอย่างไร การปฏิรูปที่ดินก็เป็นประเด็นที่สำคัญมาก นอกจากนี้ยังมี
ประเด็นเรื่องการถือครองทรัพย์สิน การจัดสวัสดิการสังคม การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ
การสาธารณสุข การศึกษา เป็นต้น แต่ประเด็นต่างๆ เหล่านี้กลับพบอุปสรรคสำคัญของ
การผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่เป็นไปได้ยาก
3. ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการประชาธิปไตยกับความเหลื่อมล้ำ จากโจทย์ใหญ่
ของการอภิปรายในครั้งนี้เราได้กำหนดให้ประชาธิปไตย (democracy) เป็นตัวแปรต้น และ
ความเหลื่อมล้ำ หรือการลดความเหลื่อมล้ำเป็นตัวแปรตามนั้น ได้พบประเด็นสำคัญที่จะ
สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวแปรสองตัวนี้ ในกลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญของ
ปัจจัยเชิงเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบการเมือง หรือกล่าวได้ว่า ถ้าสังคม
อยู่ในบริบทความเหลื่อมล้ำสูงก็จะเปลี่ยนไปสู่ประชาธิปไตยได้ต่ำ เพราะชนชั้นนำไม่ปรารถนา
ที่จะถ่านโอนอำนาจไปสู่มวลชน ซึ่งจะส่งผลกระทบกับผลประโยชน์ที่ตนเองครอบงำอยู่ แต่ก็มี
เงื่อนไขบางประการนั่นคือ ถ้าลักษณะของสินทรัพย์ที่ครอบงำอยู่นั้นมีความสามารถใน
การเคลื่อนย้ายไปต่างประเทศมาก เช่น เงิน พันธบัตร หุ้น โอกาสที่จะประนีประนอมกันก็มีสูง
ดังนั้นความเหลื่อมล้ำถ้าอยู่ในเผด็จการโอกาสจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยก็มีน้อยนั่นเอง
หรือสรุปง่าย ๆ ก็คือ ระดับความเหลื่อมล้ำที่เอื้อต่อการเปลี่ยนไปสู่ประชาธิปไตยสูง ประเทศ
เหล่านั้นต้องมีระดับความเลื่อมล้ำที่ไม่ต่ำและไม่สูงเกินไป การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3