Page 221 - kpi21190
P. 221
221
ความเหลื่อมล้ำ างเ ร ิ
ละ ารพ าประชาธิปไตย
นวลน้อย ตรีรัตน์*
ทุกวันนี้ประเทศไทยมีกลุ่มคนที่หลากหลายและมีความแตกต่างกัน
จำนวนมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างระบบที่รองรับคนที่แตกต่าง
หลากหลายนี้ขึ้นมา จึงขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพรวมของระบบความเหลื่อมล้ำ
ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ผ่านงานศึกษาของ ผศ.ดร.ดวงมณี เลาหกุล แสดง
ให้เห็นสัมประสิทธิ์ของความไม่เสมอภาคในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า ประเทศไทย
มีความเหลื่อมล้ำเรื่องการถือครองทรัพย์สินเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกันกับสัมประสิทธิ์
ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ ซึ่งหากเราปล่อยให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากเช่นนี้ต่อไป
เราจะเห็นความแตกต่างทางรายได้ของคนที่รวยที่สุดกับคนที่จนที่สุดในร้อยละ 10 ของ
ประชาชน จะแตกต่างกันประมาณ 19 เท่า หากเปรียบเทียบจากฐานทรัพย์สินและการถือ
ครองที่ดินจะพบความแตกต่างถึง 855 เท่า ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของ
ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยที่ค่อนข้างมากพอสมควร
สำหรับสาเหตุที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำยังคงดำรงอยู่นั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจาก
แนวทางการพัฒนาประเทศในอดีตที่มุ่งเน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเข้มข้น หรือที่
กล่าวได้ว่า เป็นการพัฒนาที่ละทิ้งคนจำนวนมากไว้ข้างหลัง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งนั้นเมื่อ
ลองทบทวนวรรณกรรมจากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่าความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยเกิดจาก
สาเหตุ ดังนี้
1. การครอบครองฐานทรัพยากรและการสะสมทุนในระบบโครงสร้างเดิมที่มีมาอย่าง
ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาการเติบโตทางเศรษฐกิจในทศวรรษที่ 1960 ถึง
* รองศาสตราจารย์ ดร., ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย