Page 218 - kpi21190
P. 218

218



               การมีคุณภาพชีวิตที่ดีกลับมาสู่ประชาชนอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การเริ่มต้นสร้างเพียง

               ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพเพียงอย่างเดียวก่อนนั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศ
               สหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในยุโรปล้วนมีประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ หากแต่กลับมีอัตรา
               ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น คนรวยมีสัดส่วนของรายได้เกือบ
               ร้อยละ 54 ส่วนคนจนมีรายได้เพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ซึ่งมีสัดส่วนที่ห่างกันถึง 11-12 เท่า

               เมื่อพิจารณารายการสิินทรัพย์พบว่า คนรวยที่รวยที่สุดร้อยละ 20 แรกของประเทศสหรัฐฯ
               มีที่ดินรวมกันมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนที่ดินทั้งหมด ส่วนคนจนที่จนที่สุดร้อยละ 20
               มีที่ดินรวมกันเพียงร้อยละ 0.2 เท่านั้น ซึ่งมีสัดส่วนที่ห่างกันถึง 300 กว่าเท่า เช่นเดียวกันกับ
               ประเทศไทยที่มีสัดส่วนคนรวยกับคนจนแตกต่างกันมาก ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลพวงของ

               การพัฒนาที่มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก และไม่ได้มุ่งเน้นการพัฒนาประชาธิปไตย
               และลดความเหลื่อมล้ำไปพร้อมๆ กัน จึงนำมาสู่ภาพของการพัฒนาที่ละทิ้งคนจำนวนมาก
               ไว้ข้างหลัง

                     คำถามต่อมาคือ อะไรคือทางออกของการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพื่อก้าวไปสู่

               ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ? คำตอบก็คือ เราต้องพัฒนาประเทศโดยสร้างพื้นฐานความเป็นอยู่ที่
               ดีให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเสียก่อน หลังจากนั้นจึงพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง
               และมีคุณภาพ ซึ่งทางออกที่จะนำเสนอนั้นมี 4 แนวทาง คือ

                      1. แก้ไขความเชื่อที่ผิด เพราะทุกวันนี้เราเชื่อกันว่าความเหลื่อมล้ำแก้ไขไม่ได้ แต่ใน

                         ความเป็นจริงแล้วรัฐสามารถทำให้เหลือความเหลื่อมล้ำเท่าที่จำเป็นได้

                      2. แก้ไขที่สาเหตุ เราต้องกลับมาหาสาเหตุของความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

                      3. แก้ไขเรื่องของโอกาสที่มีไม่เท่ากัน ต้องสร้างทางเลือกและให้โอกาสประชาชนทุกคน

                         ได้เข้าถึงโอกาสและทางเลือกอย่างเท่าเทียมกัน

                      4. แก้ไขระบบ ต้องทำให้ระบบต่างๆ ในสังคมเป็นธรรม ประชาชนทุกคนสามารถเข้า
                         ถึงระบบของัฐได้อย่างเท่าเทียมกัน

                     กล่าวโดยสรุปก็คือ แนวทางการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพื่อก้าวสู่ประชาธิปไตย

               ที่มีคุณภาพนั้น จำเป็นจะต้องแก้ไขความเชื่อ แก้ไขที่สาเหตุแห่งความเหลื่อมล้ำ แก้ไขโดยมอบ
               โอกาสที่เท่าเทียมกัน และสุดท้ายแก้ไขระบบ จึงจะนำมาสู่การพัฒนาแนวทางใหม่โดยไม่ละทิ้ง
               ใครไว้ข้างหลัง หรือกล่าวอีกนัยยะหนึ่งก็คือ การพัฒนาที่มุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งจากฐานราก
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   ฐานรากให้กับประชาชน สร้างชุมชนเข้มแข็งเปลี่ยนแผ่นดินไทยเป็นแผ่นดินทองให้ประชาชน
               (Strength From Bottom) นั่นเอง

                     ทุกวันนี้รัฐบาลไทยได้ดำเนินโครงการต่างๆ มากมายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งจาก


               ทุกกลุ่มมีโอกาส มีความยุติธรรม และเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ โดยรัฐบาลได้ดำเนินโครงการ
   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223