Page 222 - kpi21190
P. 222

222



               1970 พบการเติบโตมากอย่างมีนัยสำคัญจากภาคการเกษตรและการถือครองที่ดิน ซึ่งสุดท้าย

               แล้วทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจส่งผ่านโครงสร้างการสะสมทุน จนเกิดการกระจุกตัวของ
               การถือครองที่ดินที่เมื่อเวลาผ่านไปก็ยิ่งเพิ่มมาขึ้น ในทางตรงกันข้ามก็พบปริมาณพื้นที่เพาะ
               ปลูกจำนวนมาก มีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อเพาะปลูกสร้างผลผลิตส่งออกจำนวนมาก จนมาถึง
               ปัจจุบันเราพอจะเห็นแล้วว่า การถือครองที่ดินกระจุกตัวอยู่กับคนเพียงกลุ่มหนึ่ง แต่ประชาชน

               ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเคลื่อนตัวออกจากโครงสร้างเดิมได้ จนมานำสู่ความเหลื่อมล้ำในการถือ
               ครองทรัพยากรและที่ดิน

                     2. การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรไปสู่อุตสาหกรรม
               จะทำให้เกิดการไหลริน (trickle down) จากระดับบนลงมาสู่ระดับล่างนั้น กลับพบว่าเวลาผ่านมา

               40-50 ปี ไม่สามารถทำให้เกิดการกระจายทรัพยากรลงสู่ระดับล่างได้อย่างแท้จริง เพราะ
               ในระหว่างทางของการผลิตได้ก่อให้เกิดการผูกขาดการกระจุกตัวในโครงสร้างอุตสาหกรรม
               จำนวนมาก


                     3. การสร้างโลกที่ทุกคนเท่าเทียมกันหมดนั้นไม่มีจริง แต่สิ่งที่จะสามารถทำได้โดย
               การสร้างโอกาสที่ทุกคนสามารถแข่งขันได้เท่ากัน มีการศึกษา มีการพัฒนาศักยภาพ เพื่อที่จะ
               ส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสเข้าสู่การแข่งขันที่เท่าเทียมกัน แต่ในความเป็นจริงเรากลับพบปัญหา
               ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโอกาสทางสังคมสูงมาก ทั้งเรื่องของการศึกษา สาธารณสุข
               ที่คนรวยมักจะมีโอกาสมากกว่าคนจน


                     4. การวัดจำนวนกลุ่มคนจนกลุ่มคนเปราะบางในสังคมไทยที่ผ่านเส้นความยากจนนั้น
               ไม่ใช่คนจนคนเปราะบาง ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเพียงมายาคติ กลุ่มคนเหล่านี้แม้ขึ้นไปอยู่เหนือ
               เส้นความยากจนแล้วแต่ก็สามารถกลับลงมาอยู่ใต้เส้นความยากจนได้ทุกเมื่อ ยกตัวอย่างเช่น
               กรณีคนเดินทางกลับบ้านแล้วประสบอุบัติเหตุ แล้วเป็นหัวหน้าครอบครัว ขาดรายได้ หากหมอ

               สามารถรักษาหายก็ถือว่าเป็นความโชคดี แต่หากเกิดพิการครอบครัวแม้ไม่ได้อยู่ในเส้น
               ความยากจนก็อาจพลิกมาสู่ความยากจนได้ทันที คำถามต่อไปคือ เรามีการคุ้มครองทางสังคม
               ที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ คำตอบคือไม่มี ประกันสังคมในประเทศครอบคลุมแรงงานเพียง

               1 ใน 3 เท่านั้น ซึ่งมีแรงงานมากกว่า 2 ใน 3 ที่ยังขาดกลไกการคุ้มครองทางสังคมอยู่

                     5. การพัฒนาประชาธิปไตยไทยขาดความต่อเนื่อง เพราะแท้จริงนั้นประชาธิปไตยต้อง
               เริ่มพัฒนาจากฐานราก ต้องพัฒนาไปจากชุมชน แต่การพัฒนาประชาธิปไตยที่ผ่านมานับตั้งแต่
               การเปลี่ยนผ่านจาก พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน การพัฒนาประชาธิปไตยขาดความต่อเนื่องโดย
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   ส่วนร่วมของการเมืองภาคพลเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการใช้สิทธิใช้เสียงในการต่อรอง
               สิ้นเชิง เกิดการแทรกแซง การรวมศูนย์อำนาจทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง ตลอดจนขาดการมี


               อำนาจหรือผลักดันนโยบายทางการเมืองที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนกลับไม่มีเลย
               ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ การศึกษา รายได้ สวัสดิการ และการคุ้มครองทางสังคม เราไม่สามารถ

               สร้างหลักประกันขั้นพื้นฐานเพื่อช่วยให้ประชาชนหลุดพ้นจากความยากจนได้
   217   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227