Page 223 - kpi21190
P. 223
223
เหล ยวหล ง ลห ้า
าร า ระ ว ารประชาธิปไตย
ละความเหลื่อมล้ำ
นิธิ เนื่องจำนงค์*
การทบทวนวรรณกรรมประเด็นสำคัญในหัวข้อเหลียวหลังแลหน้าศึกษา
กระบวนการประชาธิปไตยและความเหลื่อมล้ำ ผ่านมุมมองและการตั้งคำถามถึง
สถานภาพในการศึกษาที่ผ่านมาเป็นอย่างไร และทิศทางหรือช่องว่างในการศึกษา
ต่อไปในอนาคตจะเป็นอย่างไร หากมองดูเผินๆ ก็คงไม่ใช่เรื่องใหม่ในการศึกษา
หากแต่เป็นประเด็นสำคัญในการศึกษาวิจัยขั้นต่อไปในอนาคตว่า สิ่งที่จะศึกษาและ
สิ่งที่ยังไม่รู้นั้นคืออะไร หรือสิ่งที่รู้ในโลกตะวันตกแต่ยังไม่รู้ในบริบทตะวันออกหรือบริบท
ของประเทศไทยคืออะไร โดยประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการทบทวนวรรณกรรมนั้น
มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเด็น คือ 1) ประชาธิปไตย (democracy) 2) ความเหลื่อมล้ำ
(inequality) และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการประชาธิปไตยกับความเหลื่อมล้ำ ซึ่งมี
รายละเอียดดังนี้
1. ประชาธิปไตย (democracy) จากการสำรวจสถานภาพประชาธิปไตยในคลื่น
ลูกที่ 3 ที่ผ่านมาในแต่ละภูมิภาคของโลกว่ามีประเทศใดบ้างที่อยู่รอด และประเทศใดบ้าง
ที่ล่มสลาย ซึ่งในภาพรวมนั้นพบว่า ประชาธิปไตยเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด 123 ครั้ง
มีประเทศที่ยังคงอยู่รอด 67 ประเทศ และล่มสลายไป 56 ประเทศ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า
กระบวนการประชาธิปไตยไม่ได้เป็นกระบวนการที่ราบรื่น มีทั้ง ประชาธิปไตยแบบย้อนกลับ
(democratization) และ กระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย (de-democratization) หรือ
การเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยแบบย้อนกลับ นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตบางประการ
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร