Page 238 - kpi21190
P. 238

238



               ประชาธิปไตยมากกว่าความเหลื่อมล้ำ งานสำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่งานของสเตฟาน แฮกการ์ด

               (Stephan Haggard) และรอเบิร์ต คอฟมัน (Robert Kaufman)

                     สำหรับงานในกลุ่มแรก งานบุกเบิกชิ้นสำคัญที่มุ่งศึกษาความเชื่อมโยงระหว่าง
               ความเหลื่อมล้ำ และกระบวนการประชาธิปไตยคืองานของคาร์เลส บอร์ซ ในหนังสือเรื่อง
               “ประชาธิปไตยและการกระจายทรัพยากร” (Democracy and Redistribution) ในงานดังกล่าว

               บอร์ซได้นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้งสองในหลากหลายลักษณะ ในบริบทของ
               ประเทศเผด็จการอำนาจนิยมที่สังคมมีความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูง โอกาสที่จะเปลี่ยนเป็น
               ประชาธิปไตยจะมีค่อนข้างน้อย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากชนชั้นนำจะไม่ปรารถนาที่จะผ่อง
               ถ่ายอำนาจไปสู่มวลชนตามแนวทางของประชาธิปไตย เพราะการกระทำดังกล่าวจะส่ง

               ผลกระทบต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ตนถือครองอยู่ ที่จะถูกจัดสรรออกไปตาม
               การเรียกร้องของมวลชนภายหลังการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย ดังนั้นหากมีกระแส
               การเรียกร้องของมวลชนให้กระจายทรัพยากร และเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย รัฐบาลเผด็จการ
               มักจะตอบโต้ด้วยการปราบปรามและกดทับอย่างเต็มที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของ

               ตนไว้ (Boix, 2003)

                     นอกจากปัจจัยเรื่องความเหลื่อมล้ำแล้ว อีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่บอร์ซ (Boix) ชี้ให้เห็น
               คือประเด็นเรื่องธรรมชาติของสินทรัพย์หรือความมั่งคั่งที่ชนชั้นนำครอบครองอยู่ ที่ส่งผลต่อการ
               คิดคำนวณเชิงยุทธศาสตร์ของตัวแสดง โดยเฉพาะชนชั้นนำอีกด้วย หากสินทรัพย์ที่ชนชั้นนำ

               ครอบครองมีความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย (asset mobility) สูง ดังเช่น เงิน พันธบัตร
               ตราสารหุ้น โอกาสที่ชนชั้นนำจะยอมประนีประนอมกระจายอำนาจไปสู่มวลชนตามแนวทาง
               ของระบอบประชาธิปไตยจะมีสูง เนื่องจากชนชั้นนำจะมองว่าภายหลังการเปลี่ยนผ่านโอกาส

               ที่ความมั่งคั่งของตนจะได้รับผลกระทบจากนโยบายการกระจายทรัพยากรจะมีน้อย
               เพราะสามารถถ่ายโอนความมั่งคั่งไปยังต่างประเทศได้ ในทางกลับกันหากสินทรัพย์ที่ชนชั้นนำ
               ครอบครองมีความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินทรัพย์ในรูปของที่ดิน
               โอกาสที่ชนชั้นนำจะยอมประนีประนอมต่อข้อเรียกร้องของมวลชนให้เปลี่ยนผ่านเป็น
               ประชาธิปไตย จะยิ่งมีน้อย เนื่องจากโอกาสที่ผลประโยชน์ของชนชั้นนำจะสูญเสียไปหลัง

               การเปลี่ยนผ่านจะมีมาก (Boix, 2003)

                     งานอีกชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งในกลุ่มนี้คืองานของดารอน อเซโมกลู และเจมส์ โรบินสัน
               งานชิ้นนี้ทั้งสองได้ต่อยอดตรรกะที่ได้ขยายต่อจากงานของคุซเนตส์ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
               โดยจำแนกสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำเป็นสามลักษณะ ที่ตัวแสดงสำคัญสองกลุ่ม นั่นคือ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   ชนชั้นนำ และมวลชนจะมีการตอบสนองในแนวทางที่แตกต่างกัน ในสถานการณ์ลักษณะแรก


               กรณีประเทศเผด็จการอำนาจนิยมที่ไม่มีปัญหาความเหลื่อมล้ำ หรือมีปัญหาความเหลื่อมล้ำ
               ในระดับที่ต่ำ ในกรณีนี้โอกาสเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะค่อนข้างน้อย เนื่องจากมวลชนไม่ได้

               ถูกบีบคั้นจากปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทำให้อาจจะขาดแรงจูงใจที่จะเรียกร้องทั้งประชาธิปไตย
   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243