Page 239 - kpi21190
P. 239

239



                  และนโยบายการกระจายทรัพยากร ในสถานการณ์ลักษณะที่สอง กรณีประเทศเผด็จการ

                  อำนาจนิยมที่มีปัญหาความเหลื่อมล้ำในระดับสูง ในกรณีดังกล่าวอเซโมกลู และโรบินสัน
                  มีมุมมองลักษณะเดียวกับบอร์ซ ที่มองว่าด้วยความต้องการรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
                  ไม่ให้สั่นคลอน ชนชั้นนำ จะทำทุกวิถีทางในการกดทับการเคลื่อนไหวเรียกร้องของมวลชน
                  ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไปสู่ประชาธิปไตย ดังนั้นโอกาสของการเปลี่ยนผ่านไปสู่

                  ประชาธิปไตยจะมีค่อนข้างน้อย กรณีที่โอกาสเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่มากที่สุดคือกรณี
                  ที่ปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่ในระดับปานกลาง ท่ามกลางบริบทดังกล่าวชนชั้นนำมีแนวโน้ม
                  จะมองว่าต้นทุนการปราบปรามประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยจะสูงกว่าต้นทุนของ
                  การดำเนินนโยบายกระจายทรัพยากร ขณะเดียวกันมวลชนจะมีแรงจูงใจในการเรียกร้อง

                  ประชาธิปไตย เนื่องจากเล็งเห็นประโยชน์จากการกระจายทรัพยากรหลังการเปลี่ยนผ่านไปสู่
                  ประชาธิปไตย (ดูตารางที่ 1)

                  ตารางที่ 2 การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยภายใต้สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ
                  สามลักษณะ


                    ระดับความ              จุดยืน                    จุดยืน              โอกาส
                     เหลื่อมล้ำ          ชนชั้นนำ                    มวลชน             เปลี่ยนผ่าน

                        สูง      กดทับการเรียกร้องเพื่อปกป้อง เรียกร้องประชาธิปไตยเพื่อผล  ต่ำ
                                  ผลประโยชน์ที่เสียไปจากการ  ประโยชน์จากการกระจาย
                                      กระจายทรัพยากร                ทรัพยากร

                       กลาง      ประนีประนอมเนื่องจากต้นทุน เรียกร้องประชาธิปไตยเพื่อผล    สูง
                                 การกดทับมากกว่าต้นทุนการ    ประโยชน์จากการกระจาย
                                      กระจายทรัพยากร                ทรัพยากร

                        ต่ำ            รักษาสถานภาพ         ไม่มีแรงจูงใจในการเรียกร้อง    ต่ำ
                                                                  ประชาธิปไตย

                  ที่มา: ประมวลจาก (Acemoglu and Robinson, 2006)

                       ที่กล่าวมาเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำกับโอกาสของการเปลี่ยนผ่าน

                  จากเผด็จการอำนาจนิยมไปสู่ประชาธิปไตย นอกจากประเด็นดังกล่าวแล้วงานทั้งสองยังคง
                  กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำ และการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับ
                  ประชาธิปไตยอีกด้วย ในกรณีของประเทศประชาธิปไตยที่ประสบกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ

                  ในระดับสูง แรงกดดันจากมวลชนให้รัฐบาลดำเนินนโยบายการกระจายทรัพยากรจะมีสูง
                  ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว โอกาสที่ชนชั้นนำที่ต้องการป้องกันผลประโยชน์ของตนไม่ให้         การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
                  สูญเสียไปจากนโยบายนี้ จะเลือกยุทธศาสตร์สนับสนุนการใช้กำลังในการโค่นล้มรัฐบาล
                  ประชาธิปไตยจะมีสูง เพราะต้นทุนของการเปลี่ยนระบอบกลับไปเป็นเผด็จการอำนาจนิยมจะต่ำ
   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244