Page 240 - kpi21190
P. 240
240
กว่าต้นทุนที่จะเสียไปจากนโยบายการกระจายอำนาจ (Boix, 2003) ในสถานการณ์ที่กล่าวมา
ข้างต้นนั้น อเซโมกลู และโรบินสันมีความเห็นไม่แตกต่างจากบอร์ซ ความแตกต่างที่สำคัญ
อเซโมกลู และโรบินสันมองว่าโอกาสที่จะเกิดประเทศประชาธิปไตยที่มีความเหลื่อมล้ำสูงนั้น
จะค่อนข้างน้อย เพราะในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงจะยากที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่
ประชาธิปไตยตั้งแต่แรกเริ่มนั่นเอง ในกรณีของประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำปานกลาง รัฐบาล
ประชาธิปไตย มักจะไม่ประสบปัญหาเรื่องแรงต่อต้านจากชนชั้นนำในการดำเนินนโยบาย
กระจายทรัพยากรมากนัก เพราะผลประโยชน์ที่ชนชั้นนำจะเสียไปมีไม่มากนัก (Acemoglu
and Robinson, 2006)
แม้ว่างานสองชิ้นนี้จะดูมีความแตกต่างกัน แต่ในทางตรรกะแล้วงานทั้งสองอยู่บนฐานคติ
เดียวกันนั่นคือ ฐานคติแบบทฤษฎีทางเลือกที่มีเหตุผล (rational choice) ซึ่งในแง่หนึ่งมองว่า
ตัวแสดงมีการจัดลำดับความต้องการของตนที่ชัดเจน และในอีกแง่หนึ่งมองว่าตัวแสดงจะ
ปรับเปลี่ยนความต้องการตามสถานการณ์แวดล้อมที่แตกต่างกัน รวมทั้งการคาดคะเน
ปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงข้ามอีกด้วย ในกรณีนี้งานสองชิ้นนี้มองว่า ตัวแสดงสำคัญ
ในกระบวนการประชาธิปไตยคือ ชนชั้นนำ และมวลชน ตัวแสดงทั้งสองจะกำหนดยุทธศาสตร์
การเคลื่อนไหวบนฐานของมุมมองที่มีต่อ “สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ” รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ของ
ฝ่ายตรงข้าม ด้วยเหตุที่งานทั้งสองให้ความสำคัญกับ “ความเหลื่อมล้ำ” ซึ่งเป็นปัจจัยทาง
เศรษฐกิจ ทำให้อาจให้คำจำกัดความงานกลุ่มนี้ว่าเป็น “ปัจจัยเชิงเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อ
การเปลี่ยนแปลงระบอบการเมือง”
งานวิชาการในระยะหลังได้นำเสนอข้อโต้แย้งงานกลุ่มนี้ในหลายลักษณะ ในลักษณะแรก
มีการชี้ให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ของชนชั้นนำในการตอบโต้ต่อสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ และ
การเรียกร้องของมวลชนให้กระจายทรัพยากรมีหลากหลายลักษณะ ไม่จำเป็นว่าจะต้อง
สนับสนุนให้รัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยมใช้วิธีกดทับมวลชนด้วยความรุนแรงเสมอไป ดังเช่น
งานของ เบน อันเซล (Ben Ansell) และเดวิด ซามูเอลส์ (David Samuels) ที่ชี้ให้เห็นว่า
ในบริบทของประเทศเผด็จการอำนาจนิยมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง และเกิดตัวแสดงใหม่นั่นคือ
ชนชั้นนายทุนใหม่ สิ่งที่ตัวแสดงใหม่เหล่านี้ต้องการคือ การปกป้องคุ้มครองความมั่งคั่งทาง
เศรษฐกิจของตนไม่ให้ถูกฉกฉวยหรือยึดครองโดยรัฐ ภายใต้บริบทเช่นนี้ตัวแสดงเหล่านี้มีแนว
โน้มที่จะมองว่าประชาธิปไตยจะเอื้อต่อผลประโยชน์ของตนมากที่สุด และสนับสนุนให้เกิดการ
เปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย (Ansell and Samuels, 2010) นอกจากนี้เหตุผลที่ชนชั้นนำ
ทางเศรษฐกิจอาจจะเลือกสนับสนุนประชาธิปไตยยังอาจมีที่มาจากการคาดคะเนว่าในระบอบ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 เพื่อสกัดกั้นการดำเนินนโยบายกระจายทรัพยากรได้ (Albertus and Menaldo, 2013)
ประชาธิปไตยที่จะเกิดขึ้นมาใหม่พวกเขาสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในกระบวนการทางการเมือง
การคาดคะเนดังกล่าวค่อนข้างสอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในประเทศ
ประชาธิปไตย ที่ชนชั้นนำสามารถใช้ประโยชน์จากความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่ตนเองมีในการ