Page 248 - kpi21190
P. 248
248
ประการที่หก แม้ว่าประเด็นส่วนมากจะยังไม่มีข้อยุติ แต่ประเด็นหนึ่งที่ดูเหมือนว่า
งานส่วนมากจะมีข้อสรุปในทิศทางเดียวกันนั่นคือ ความเหลื่อมล้ำส่งผลกระทบในทางลบต่อ
ความมั่นคงและยั่งยืนของประชาธิปไตย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือส่งผลทำให้คุณภาพของ
ประชาธิปไตยลดลงนั่นเอง (Muller, 1988; Przeworski et al, 2000; Rueschemeyer,
2004; Bermeo, 2009; Houle, 2009) โดยความเหลื่อมล้ำจะส่งผลทำให้ศักยภาพในการมี
ส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองลดลง (Crawford and Abdulai, 2012) เกิดการแบ่งขั้ว
ทางการเมือง ระดับทุนทางสังคมที่ลดลง (Putnam, 2000) ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของพลเมือง
ลดลง ทั้งความเชื่อมั่นทั่วไปที่มีต่อพลเมือง (Kawachi et al, 1997) และความเชื่อมั่น
ที่มีต่อสถาบันการเมืองแบบประชาธิปไตย (Karl, 2000) ส่งผลต่อความชอบธรรมของ
สถาบันการเมืองแบบประชาธิปไตย (Diamond, 1999) และดังที่ได้กล่าวไปแล้วส่งผลต่อ
ความเหลื่อมล้ำทางการเมือง โดยเฉพาะระหว่างชนชั้นนำ และมวลชน
ประการที่เจ็ด งานที่ศึกษาความเหลื่อมล้ำกับกระบวนการประชาธิปไตยส่วนมากมักจะ
มุ่งเน้นศึกษา “ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ” เป็นสำคัญ ยังค่อนข้างขาดงานที่ศึกษาความ
เหลื่อมล้ำ ในมิติอื่นๆ ที่ส่งผลต่อประชาธิปไตย ตัวอย่างของงานในลักษณะนี้ดังเช่นงานของ
ชาร์ลส ทิลลี (Charles Tilly) โดยทิลลีชี้ให้เห็นว่าการขยายตัวของความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่ม
ต่างๆ (categorical inequality) เช่น ความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศ ชาติพันธุ์ ศาสนา ชุมชน
เป็นต้น และการที่ความเหลื่อมล้ำเหล่านี้ได้ลุกลามเข้าไปยังกระบวนการทางการเมือง จะส่ง
ผลตามมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่หันเหออกจากประชาธิปไตย (de-
democratization) (Tilly, 2003; 2007) นอกจากชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่าง
ความเหลื่อมล้ำที่ไม่ใช่แง่มุมทางเศรษฐกิจกับประชาธิปไตยแล้ว สิ่งที่น่าสนใจในงานของทิลลีคือ
ข้อเสนอในการแก้ปัญหา ที่เขาได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ “ศักยภาพของรัฐ” ในการ
แทรกแซง ควบคุม ดึงเอาทรัพยากรจากภาคส่วนต่าง ๆ และการจัดสรรทรัพยากรใหม่ ทิลลี
ยังชี้อีกว่าในศตวรรษที่ 21 รัฐต้องพยายามควบคุมข้อมูลข่าวสาร สื่อมวลชน องค์ความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์ และทุนทางการเงิน เนื่องจากสิ่งเหล่านี้สามารถเป็นภัยคุกคามต่อปัญหา
ความเหลื่อมล้ำในลักษณะใหม่ได้ทั้งสิ้น (Tilly, 2003) ผู้เขียนมองว่านอกเหนือจากงานที่ศึกษา
สหสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำและกระบวนการประชาธิปไตยที่มักศึกษาบนฐานของ
ระเบียบวิธีเชิงปริมาณแล้ว ยังควรให้ความสนใจในการศึกษาความเหลื่อมล้ำในมิติอื่น ๆ
ที่นอกเหนือจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอีกด้วย เช่นเดียวกับการศึกษาในเชิงคุณภาพ
ที่มุ่งทำความเข้าใจ “กลไกการทำงานของความเหลื่อมล้ำ” หรืองานที่ให้ความสนใจในการศึกษา
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 ได้เสนอไว้
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ควรมุ่งวิเคราะห์ปัญหาความเหลื่อมล้ำในแง่มุมใหม่ ๆ ดังที่ทิลลี