Page 31 - kpi20973
P. 31
30
1) ระดับการให้ข้อมูล เป็นระดับต้่าสุดและเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดของการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างผู้ก้าหนดนโยบายหรือผู้วางแผนโครงการกับประชาชน เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับการตัดสินใจ
ของผู้ก้าหนดนโยบายหรือผู้วางแผนโครงการ แต่ไม่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นหรือเข้ามาเกี่ยวข้องใดๆ
วิธีการให้ข้อมูลอาจกระท้าได้หลายวิธี เช่น การแถลงข่าว การแจกข่าว การแสดงนิทรรศการ และการท้า
หนังสือพิมพ์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนการใช้สื่ออื่นๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สื่อบุคคล และหอ
กระจายข่าว เป็นต้น อย่างไรก็ดีเพื่อป้องกันมิให้รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อ้านาจดุลพินิจในการให้หรือ
ไม่ให้ข้อมูลดังกล่าวแก่ประชาชน จึงควรมีข้อก้าหนดให้รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องกระท้าและกระท้า
อย่างทั่วถึงด้วย ยกเว้นข้อมูลบางประเภท เช่น เรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ เป็นต้น นอกจากนี การ
ให้ข้อมูลแก่ประชาชนจะต้องให้อย่างทั่วถึง ถูกต้อง เที่ยงตรง ทันการณ์ เข้าใจได้ง่าย และไม่มีค่าใช้จ่ายมาเป็น
อุปสรรคในการได้รับข้อมูลนั นๆ
2) ระดับการเปิดรับความคิดเห็นของประชาชน เป็นระดับขั นที่สูงกว่าระดับแรกกล่าวคือ
ผู้ก้าหนดนโยบายหรือผู้วางแผนโครงการเชิญชวนให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ได้ข้อมูลมากขึ น และ
ประเด็นในการประเมินข้อดีข้อเสียชัดเจนยิ่งขึ น เช่น การส้ารวจความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการริเริ่ม
โครงการต่างๆ และการบรรยายให้ประชาชนฟังเกี่ยวกับโครงการต่างๆ แล้วขอความคิดเห็นจากผู้ฟัง เป็นต้น
อนึ่งการรับฟังความคิดเห็นนี จะกระท้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลก็ต่อเมื่อประชาชนผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียได้มีข้อมูลที่ถูกต้องและพอเพียง
3) ระดับการปรึกษาหารือ เป็นระดับขั นการมีส่วนร่วมของประชาชนที่สูงกว่า การเปิดรับ
ความคิดเห็นจากประชาชน เป็นการเจรจากันอย่างเป็นทางการ ระหว่างผู้ก้าหนดนโยบาย และผู้วางแผน
โครงการ และประชาชน เพื่อประเมินความก้าวหน้าหรือระบุประเด็นหรือข้อสงสัยต่างๆ เช่น การจัดประชุม
การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ตลอดจนการเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น โดยใช้รูปแบบต่างๆ อาทิ การสนทนา
กลุ่ม และประชาเสวนา เป็นต้น
4) ระดับการวางแผนร่วมกัน เป็นระดับขั นสูงกว่าการปรึกษาหารือ กล่าวคือ เป็นเรื่องการ
มีส่วนร่วมที่มีขอบเขตกว้างมากขึ น มีความรับผิดชอบร่วมกันในการวางแผนเตรียมโครงการ และผลที่จะ
เกิดขึ นจากการด้าเนินโครงการเหมาะสมที่จะใช้ส้าหรับการพิจารณาประเด็นที่มีความยุ่งยากซับซ้อน และมี
ข้อโต้แย้งมาก เช่น การใช้กลุ่มที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การใช้อนุญาโตตุลาการ
เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งและการเจรจาเพื่อหาทางประนีประนอมกัน การประชุมวางแผนแบบมีส่วนร่วม
5) ระดับการร่วมปฏิบัติ เป็นระดับขั นที่สูงถัดไปจากระดับการวางแผนร่วมกัน คือ เป็นระดับ
ที่ผู้รับผิดชอบนโยบายหรือโครงการกับประชาชนร่วมกันด้าเนินการตามนโยบาย หรือโครงการในขั นการ
น้านโยบายไปปฏิบัติร่วมกัน ด้าเนินตามโครงการร่วมกันเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้