Page 51 - kpi20902
P. 51
50
ชุมชนในรูปแบบใหม่ อาจเรียกได้ว่าเป็น “ชุมชนเหมือนจริง” (Virtual Community) เป็น
ชุมชนที่กลุ่มคนอาจจะได้พบกันโดยตรงหรือไม่ก็ตาม แต่มีโอกาสสื่อสารกันด้วยค้า ภาษา และความคิด
ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชุมชนแบบนี มีข้อดีกว่าชุมชนแบบอื่นตรงที่ว่าไม่มีอคติเกี่ยวกับ เพศ อายุเชื อชาติ
สีผิว เผ่าพันธุ์ รูปร่างหน้าตา เสียงพูด อากัปกิริยาของสมาชิกชุมชนเสมือนจริงเป็นเครื่องมือที่เชื่อมโยงผู้ที่มี
ความสนใจร่วมกันเข้าด้วยกัน ในชุมชนแบบเดิมจะรู้จักผู้คนต่อเมื่อได้พบปะหน้าค่าตาและต้องคบหาสมาคม
กับผู้คนจ้านวนไม่น้อย กว่าที่จะพบผู้ที่มีความสนใจในเรื่องบางเรื่องเหมือนกับเรา แต่ในชุมชนประเภทนี สามารถ
เข้าถึงแหล่งที่สนใจได้อย่างทันที นอกจากนี ยังมีข้อดีคือช่วยคัดสรรกลั่นกรองข้อมูลที่จ้าเป็นและทันสมัย
23
โดยไม่ต้องเก็บรวบรวมไว้มากมายเช่นแต่ก่อน (Rheingold, 1998)
อย่างไรก็ตาม มีข้อทักท้วงว่าชุมชนในรูปแบบใหม่นี ไม่น่าจะถือว่ามีลักษณะเป็น “ชุมชน”
เนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่มีพันธะผูกพันใดๆ กับชุมชน มีอิสระที่จะเลือกเข้าร่วมเมื่อใดก็ได้หรือถอยออกไป
เมื่อใดก็ได้ อีกทั งข้อมูลข่าวสารที่สื่อถึงกันก็ไม่สามารถที่จะเชื่อถือได้ทั งหมด
ชุมชนในรูปแบบใหม่นี ยังคงต้องมีการอาศัยความเป็นชุมชนเดิมคือพื นที่อยู่บ้าง แต่ลักษณะ
ความสัมพันธ์มีการเปลี่ยนแปลงไป สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ นในสังคมที่ซับซ้อน โดยผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มี
รูปแบบที่กว้างขวางขึ นทั งในระดับชาติและในระดับโลก กล่าวคือ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ นถ้าเป็นปัญหา ปัญหาหรือ
สิ่งนั นๆ ก็จะเชื่อมโยงไปในระดับที่กว้างขึ นได้ และในทางตรงกันข้ามก็จะเป็นประโยชน์หรือมีผลต่อความ
รับผิดชอบร่วมกันในฐานะเป็นชุมชนรูปแบบใหม่ที่มีจิตส้านึกร่วม มีหลักการและจุดหมายร่วมกัน
24
Schuler (1996) กล่าวถึงปัจจัยและทิศทางของชุมชนในรูปแบบใหม่ว่า คือความเป็น
ปัจเจกบุคคลของแต่ละบุคคล ระบบเศรษฐกิจ และการแพร่กระจายของเทคโนโลยีสารสนเทศ อันไร้ขอบเขต
ที่จะสร้างวัฒนธรรมมวลชนแบบใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับพัฒนาการของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทย
มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ตั งแต่ยุคประเทศไทย 1.0 ซึ่งเป็นยุคที่เน้นการประกอบอาชีพอยู่ในภาค
การเกษตรเป็นหลัก เมื่อประเทศไทยก้าวไปสู่ยุคประเทศไทย 2.0 เริ่มมีการเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นอุตสาหกรรม
ขนาดเบาใช้แรงคนในการผลิต โดยมุ่งเน้นการผลิตเพื่อขายเพิ่มมากขึ น จนพัฒนาการไปสู่ ยุคประเทศไทย 3.0
ที่เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมหนักเต็มรูปแบบท้าให้สภาพของชุมชนในประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน
เนื่องจากมีความแตกต่างจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั งเดิมอย่างสิ นเชิง จนก้าวไปสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ตาม
นโยบายของรัฐบาลซึ่งจะเน้นการพัฒนาประเทศด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ
23 Howard Rheingold, The Virtual Community, (ออนไลน์) แหล่งที่มา https://people.well.com/user/
hlr/vcbook/vcbook8.html
24
Schuler, R.S. and Jackson, S.E. อ้างแล้ว. P116-121.