Page 54 - kpi20902
P. 54

53



                            1) ความหมายของชุมชนเข้มแข็ง


                               จากการศึกษา พบว่า ความหมายของค้าว่าชุมชนเข้มแข็งในภาษาอังกฤษตรงตัว คือ strong

                 community แต่มักจะนิยมใช้ค้าว่า sustainable community เป็นหลัก เนื่องจากการให้ความหมายของ

                 ค้าว่า “ชุมชนเข้มแข็ง” น่าจะมีความหมายที่ครอบคลุม เรื่องการพึ่งพาตนเองได้ ไม่ได้หมายความเพียงแค่

                 ชุมชนมีความเข้มแข็งเพียงอย่างเดียว โดยมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายค้าว่า ชุมชนเข้มแข็ง ดังนี

                                           27
                               ประเวศ วะสี  ราษฎรอาวุโสซึ่งมีประสบการณ์ด้านการพัฒนาสังคมและพัฒนาชุมชน

                 มาอย่างยาวนาน ได้ให้ความหมายไว้ว่า “สังคมหรือชุมชนที่เข้มแข็ง ต้องเกิดการรวมตัว ร่วมคิดร่วมท้า
                 หลายคนรวมตัวกันเกิดเป็นสังคม เกิดความเป็นชุมชน และใหญ่ยิ่งกว่านั นเกิดเป็นประชาคม ถ้าประชาคม


                 ตื่นตัวคิดถึงเรื่องของส่วนรวมมากกว่าเรื่องของตัวเอง มีข้อมูลข่าวสาร มีความรู้ แล้วรวมตัวร่วมคิดร่วมท้าในสิ่ง
                 ต่างๆ เป็นพลังของพลเมือง พลังพลเมืองจะเป็นตัวชี ขาด ท้าให้เศรษฐกิจดี ให้การเมืองดี ให้ศีลธรรมดี”


                               สาวิณี รอดสิน ซึ่งได้ท้างานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนบ้านปางจ้าปี

                 จังหวัดเชียงใหม่ ได้ให้ความหมายของค้าว่า “ชุมชนเข้มแข็ง” ไว้ว่า การให้นิยามความหมายของค้าว่าชุมชน

                 เข้มแข็งอยู่ที่บริบทที่มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ หากนักพัฒนาเอกชน หรือนักพัฒนาสายชุมชน มองในมิติ

                 ของการพัฒนาก็จะมองว่าชุมชนที่มีการบริหารจัดการตนเองจนสามารถท้าให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ ไม่ว่า

                 จะเป็นเรื่องการบริหารจัดการ การสร้างเครือข่าย ภาวะผู้น้าที่มีคุณภาพ การเรียนรู้ หรือการมีส่วนร่วมของ

                 คนในชุมชน ดังนั น ชุมชนเข้มแข็งจึงหมายถึง สมาชิกในชุมชนที่มีความรักและความผูกพันต่อกันและต่อชุมชน

                 มีความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน มีศักยภาพที่จะพึ่งพิงตนเองในระดับสูง แม้จะต้องพึ่งพิงภายนอกบ้าง

                 แต่อ้านาจการตัดสินใจทุกด้านยังอยู่ที่ชุมชน รวมไปถึงมีการพัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างต่อเนื่อง

                 ด้วยกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ โดยไม่สูญเสียอัตลักษณะเฉพาะของชุมชน


                                                                                                          28
                               ซึ่งการให้ความหมายลักษณะนี ก็สอดคล้องกับแนวคิดของท่าน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
                 นักพัฒนาสังคมต้นแบบท่านหนี่งได้ให้ค้าจ้ากัดความ ชุมชนเข้มแข็งไว้ว่า สังคมที่มีสมาชิกให้ความส้าคัญกับวิถี

                 ชีวิตของตนเองและคนในชุมชน มีกลไก กระบวนการ และกิจกรรมร่วมกันอย่างหลากหลาย


                               ในอีกด้านหนึ่ง ชุมชนเข้มแข็ง ยังหมายถึง การที่คนหันหน้าเข้าหากันเพื่อเผชิญกับปัญหา

                 และแรงกดดันจากสังคมภายนอก หรือความตั งใจของคนในชุมชนว่าต้องการให้ชุมชนของตนเองเป็นอย่างไร

                 โดยด้าเนินไปบนพื นฐานของความรัก ความเอื ออาทร มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง รู้จักใจกว้าง



                        27
                           ประเวศ วะสี, อ้างแล้ว, หน้า 8,
                        28
                           ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม, ส้านึกไทยที่พึงปรารถนา, กรุงเทพฯ: มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย. หน้า 3
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59