Page 53 - kpi20902
P. 53

52



              กว้างขวางมากกว่าในอดีตเพื่อสอดคล้องกับกระแสการพัฒนาในปัจจุบันที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน

              และเครือข่ายหรือเพื่อรู้เท่าทันการเชื่อมโยงเครือข่ายของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ไร้พรมแดน


                            กล่าวโดยสรุป ความเป็นชุมชนไม่ได้มีความหมายที่ตายตัว แต่มีความเคลื่อนไหว

              เปลี่ยนแปลง การให้ความหมายเกี่ยวกับชุมชนจึงเป็นสื่อที่ใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมหรือ

              การจัดระบบความสัมพันธ์ใหม่ทั งกับภายในและภายนอกชุมชน ฉะนั น ความเป็นชุมชนจึงมิได้มีเพียง

              หน่วยเดียว หากแต่เป็นสายใยของความสัมพันธ์ที่สานขึ นจากความสัมพันธ์ต่างๆ และมีเครือข่ายของ

              ความสัมพันธ์ที่ซ้อนทับกันอยู่ การสร้างใหม่ของความเป็นชุมชนจึงเป็นการแสดงออกถึงความเป็นตัวตนอัน

              เป็นการโต้ตอบของคนในชุมชนหรือสังคม และเป็นที่ช่วยให้ผู้คนยกระดับความรู้ ความสามารถ การรับรู้และ

              ความเข้มแข็งหรือพลังที่เกิดขึ นจากการรวมตัวกันผ่านการสานสัมพันธ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน


                     2.2.3 ชุมชนกับการสร้างความเข้มแข็ง


                         ดังที่กล่าวมาแล้วว่าชุมชนมีความส้าคัญเนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นหรือเป็นฐานของจ้านวนประชากร

              ส่วนใหญ่ในสังคม เพราะลักษณะเด่นหลายประการสามารถท้าให้เกิดการรวมตัวของคนได้ง่าย โดยในปัจจุบัน

              แม้กระทั่งในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีก็ยังให้ความส้าคัญกับการสร้างฐานของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง เพราะ

              เล็งเห็นว่า “ชุมชนท้องถิ่น” คือรากฐานที่ส้าคัญของสังคม โดยเรื่องของชุมชนเข้มแข็งได้ถูกหยิบยกขึ นมา

              ให้ความส้าคัญ โดย นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในหัวข้อการบรรยาย

              พิเศษหัวข้อ “ชุมชนเข้มแข็ง: หัวใจของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย” โดยมีใจความส้าคัญว่า


                         “ชุมชนเข้มแข็งเป็นหัวใจของการพัฒนาในทุกเรื่อง และการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องเริ่มจากฐาน” คือ
              คอนเซ็ปต์ใหญ่ที่ นพ.ประเวศ ได้ฉายภาพแก่ผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อน้ามาสู่ดอกผลอย่างน้อย 8 ประการ ได้แก่


              1. ฐานประเทศแข็งแรงประเทศมั่งคง  2. พัฒนาอย่างบูรณาการเชื่อมโยงกันอย่างสมดุลโดยใช้ “พื นที่” เป็น
              ตัวตั ง  3. ฐานประชาธิปไตยสร้างผู้น้าคุณภาพซึ่งเป็นผู้น้าตามธรรมชาติที่เกิดจากการยอมรับของคนในชุมชน


              4. ฐานทางศีลธรรมที่เกิดจากการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม 5. ฐานของระบบเศรษฐกิจ
              ที่มีภูมิคุ้มกัน คือ มีบ้านอยู่ มีข้าวกิน ท้าอาชีพตามถนัด  6. รองรับสังคมสูงอายุ  7. ระบบบริการสุขภาพ


              ใกล้บ้านใกล้ใจ และ 8. เป็นฐานของการปฏิรูปการศึกษา
                                                            26






                     26  ประเวศ วะสี, การบรรยายพิเศษหัวข้อ “ชุมชนเข้มแข็ง: หัวใจของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย”,

              จัดโดยส้านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ณ ห้องประชุมทิพวรรณบอลลูนโรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี เมื่อวันที่
              3 พฤษภาคม 2561.
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58