Page 58 - kpi20902
P. 58

57



                               จะเห็นได้ว่า ปัจจัยทั ง 4 ส่วน จะเป็นเรื่องของจิตส้านึกความรับผิดชอบทั งต่อตนเอง คนรอบ

                 ข้างและชุมชน โดยความยั่งยืนจะเกิดขึ นได้เพราะอาศัยผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ นทุก ๆ ฝ่าย และร่วมกันแบ่งปัน

                 ความรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับสมาชิกคนอื่น ๆ ด้วยจะได้ก่อให้เกิดความท้าทายในการท้างานทั งแก่

                 ตนเองและคนอื่น ๆ ต่อไป


                            4) กระบวนการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง

                                                                                               34
                               สถาบันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน  มหาวิทยาลัยนเรศวร (2552)   ได้อธิบาย
                 องค์ประกอบที่ส้าคัญของกระบวนการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยเน้นชุมชนเป็นตัวตั ง

                 ประกอบไปด้วย คือ

                                     ภูมิปัญญาและความรู้ที่สืบสานและประยุกต์ให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงจาก

                 ภายนอก

                                     องค์กรชุมชนและกลุ่มผู้น้าที่มีคุณธรรมและภูมิปัญญารวมถึงการจัดตั งกลุ่มและ

                 จัดระเบียบชุมชน

                                     เวทีการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง

                 และการบุกรุกจากภายนอก

                               อย่างไรก็ดี แนวคิดชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งเป็นแนวคิดหลักด้านงานพัฒนาที่ได้ถูกถ่ายทอด และ

                 น้าไปประยุกต์ใช้ในสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการปฏิรูป (2554) ได้อธิบายชุมชนเข้มแข็งว่าเป็น

                 แนวคิดการพัฒนาที่มุ่งเน้นความยั่งยืนด้านการพัฒนามิติต่างๆ ในระดับชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะการสนับสนุน

                 บทบาทของชุมชน/ภาคประชาสังคม ในการดาเนินการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของชุมชน ในการจัดการ

                 ทรัพยากรธรรมชาติ  การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม  การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น  การให้บริการสาธารณะ

                 การวางแผนการพัฒนาท้องถิ่น โดยจะต้องยอมรับในความจ้าเพาะและความแตกต่างหลากหลายทางระบบ

                 นิเวศวัฒนธรรมของแต่ละชุมชนและกลุ่มชาติพันธุ์ในท้องถิ่น ซึ่งเป็นประเด็นความท้าทายในการจัดการชุมชน

                 ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ที่ต้องปรับเปลี่ยนดุลยภาพของบทบาทราชการส่วนท้องถิ่นกับบทบาทของชุมชน องค์กร

                 ชุมชน ภาคประชาสังคม และประชาชนภายในท้องถิ่นให้สอดคล้องและสมดุลและการเปลี่ยนแปลงเชิง

                 โครงสร้างทางสังคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว  ดังนั นหากจะกล่าวถึง “ชุมชนเข้มแข็ง” จึงหมายถึง กลุ่มคนที่มา

                 อาศัยอยู่รวมกันด้ารงชีวิตเป็นไปในวิถีวัฒนธรรมเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การแต่งกาย หรือการนับถือ

                 ศาสนา โดยชุมชนสามารถพึ่งพาตนเอง มีวิธีการบริหารจัดการกลุ่มของตนเองและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน



                        34  พีรธร บุณยรัตพันธุ์, การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน, พิมพ์ครั งที่ 1 พิษณุโลก : สถาบันเพื่อสร้างความเข้มแข็ง

                 ให้ชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2552, หน้า 40.
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63