Page 50 - kpi20902
P. 50
49
4) แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนในรูปแบบใหม่ (Virtual Community Perspective)
แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนในรูปแบบใหม่เกิดขึ นพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยีและปัญหาของ
สังคมสมัยใหม่ที่ทวีความซับซ้อนและรุนแรงขึ น การพิจารณาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา ไม่อาจจ้ากัด
อยู่ในปริมณฑลของชุมชนที่มีอาณาเขตภูมิศาสตร์เล็กๆ ได้เพียงล้าพัง เพราะบางปัญหาเกิดจากอิทธิพลภายนอก
ซึ่งบางครั งการแก้ไขต้องการการรวมก้าลัง ความร่วมมือ และทรัพยากรจากภายนอกชุมชน
คุณลักษณะที่ส้าคัญของชุมชนในรูปแบบใหม่ คือ (Schuler, 1996) และ (ปรีชา วงศ์ทิพย์,
21
22
2555)
จิตส้านึกร่วม (Consciousness)
หลักการ (Principle)
จุดมุ่งหมาย (Purpose) ซึ่งชุมชนรูปแบบนี สามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง
บุคคล กลุ่ม องค์กร ประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลก
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หลากหลาย
มีความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและความเป็นชุมชนตามความสนใจ
ดังนั น ชุมชนในรูปแบบใหม่จึงอาจมีลักษณะเป็น “ชุมชนทางอากาศ”หรือผู้สนใจจะมีส่วนร่วม
ในรายการวิทยุ ชุมชนเครือข่ายบน Internet อาจกล่าวได้ว่า เป็นชุมชนไม่จ้าเป็นต้องมีพื นที่ทางกายภาพและ
ไม่จ้าเป็นว่าสมาชิกต้องพบปะหน้าตากันโดยตรง แต่เป็นชุมชนที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยี
สารสนเทศ เป็นเครื่องสานความสัมพันธ์และจิตส้านึกร่วมของสมาชิก
Schuler ได้กล่าวว่า ชุมชน คือ สายใย (Web) ของความสัมพันธ์ทางสังคมมีความเป็นเอกภาพ
มีพลังความยืดโยง (Cohesive) การสนับสนุนเกื อกูลกันและกัน ท้านองเดียวกัน เทคโนโลยี ก็คือ สายใย (Web)
ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์และการสื่อสารของผู้คนต่างๆ เทคโนโลยีและการสื่อสารผ่านวิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์
มีบทบาทในการสร้างชุมชนในรูปแบบใหม่ โดยสมาชิกไม่จ้ากัดเชื อชาติเผ่าพันธุ์ เพศ วัย ศาสนา และฐานะ
เศรษฐกิจ เป็นต้น
21 Schuler, R.S. and Jackson, S.E. Human Resource Management: Positioning for the 21st
Century. 6th Edition, West Publishing Company, New York. (1996). Journal of Service Science and
Management, Vol.8 No.4, July 21, 2015.
22 ปรีชา วงศ์ทิพย์, การพัฒนาชุมชนประยุกต์: แนวคิดและการบูรณาการ, ส้านักพิมพ์พิมพ์ลักษณ์, กรุงเทพฯ:
2555 : หน้า 23