Page 45 - kpi20902
P. 45

44



              ปกติอยู่แล้วแต่อาจจะขาดการอธิบายภาพของลักษณะของความเข้มแข็งของชุมชนที่ชัดเจน ซึ่งเป็นที่มาของ

              แนวคิดทางมนุษยนิยม Humanistic Perspective อีกหนึ่งส้านักที่ให้ค้าอธิบายลึกไปถึงความเป็นมนุษย์

              ได้ชัดเจนเพิ่มมากขึ น


                         2) แนวคิดทางมนุษยนิยม (Humanistic Perspective)


                            แนวคิดของชุมชนในแนว Humanistic perspective นี  บางคนเรียกว่า เป็นแนวคิดของกลุ่ม
              Utopia นักสังคมวิทยาที่มีอิทธิพลส้าคัญต่อ 2 แนวคิดนี  2 คน คือ Robert Nisbet และ Baker Brownell
                                                                                                       12

              ซึ่งมีความคิดว่า ชุมชนต้องก่อมิตรภาพ ความเอื ออาทร ความมั่นคง และความผูกพันระหว่างคนในชุมชน

                            Robert Nisbet เห็นว่าสังคมสมัยใหม่ท้าให้เกิดการสูญเสียความรู้สึกผูกพันของชุมชน

              (sense of community) ในข้อเขียนของ Nisbet เรื่อง The quest for community  นั นเกิดจากเงื่อนไข
                                                                                      13
              ของสังคมสมัยใหม่ที่ไม่สามารถตอบสนองให้ปัจเจกบุคคลเกิดความมั่นคง เขาได้แสดงความเห็นว่า ในลักษณะ

              รัฐการเมืองสมัยใหม่ รัฐไม่สามารถตอบสนองความมั่นคงได้ ไม่มีองค์กรขนาดใหญ่ใดที่สามารถตอบสนองความ

              ต้องการทางด้านจิตใจของคนได้ เพราะโดยธรรมชาติแล้ว องค์การเหล่านี มีขนาดใหญ่ ซับซ้อนเป็นทางการ

              เกินไป รัฐอาจจะก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในนามของรัฐ เช่น การก่อสงคราม แต่ในการตอบสนองอย่างปกติ


              ธรรมดา ต่อความต้องการของคนในเชิงการยอมรับมิตรภาพ ความมั่นคง ความเป็นสมาชิก รัฐจะท้าไม่ได้

                            ทางเลือกที่นักคิดในแนวนี เสนอ ก็คือ การเรียกร้องให้ชุมชนมีขนาดเล็ก แต่มีโครงสร้างที่

              แน่นเหนียวเพราะชุมชนขนาดเล็กเท่านั นที่จะช่วยฟื้นฟูสภาพความสัมพันธ์ทางสังคมให้ดีขึ น เพราะจะ

              รับผิดชอบต่อหน่วยที่เล็กที่สุด และกล่าวถึงชุมชนขนาดเล็กที่เน้นการกระท้าที่เต็มไปด้วยความร่วมมือร่วมใจ

              ความรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นสังคมที่ตนรู้จักอย่างใกล้ชิดและสนิทสนม


                            แนวคิดทั งสองนี  สะท้อนให้เห็นถึงการเรียกร้องต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมสมัยใหม่

              การขยายตัวของเมือง ประชากร ที่ก่อให้เกิดสภาวะความแปลกแยก ความวิตกกังวล ความโดดเดี่ยว ไม่สนใจ

              ใยดีหรือรู้สึกรับผิดชอบต่อเรื่องราวที่เกิดขึ นกับบุคคลอื่นๆ ที่อยู่รอบข้าง ไม่รู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมในความ

              รับผิดชอบตัดสินใจหรือรับผลประโยชน์นั นๆ






                     12  Baker Brownell, The Human Community; Its Philosophy and Practice for a Time of Crisis,

              Volume 45, Issue 2 June 1951, pp. 568-569.

                     13  Robert Nisbet, The quest for community, (San Francisco: The Institute for Contemporary Studies

              Press, 1990), PP. 41-65.
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50