Page 47 - kpi20902
P. 47
46
3) แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนประชาคมหรือประชาสังคม (Civil Society Perspective)
ค้าว่า ประชาคมหรือประชาสังคม หมายถึง การรวมตัวพบปะของคนหลากหลาย ซึ่งไม่ใช่
เฉพาะคนที่รู้จักคุ้นเคยเพียงกลุ่มเดียว แต่รวมถึงคนแปลกหน้าที่สนใจในประเด็นส่วนรวม(สาธารณะ) ประเด็นใด
ประเด็นหนึ่งร่วมกันเพื่อด้าเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ไม่ใช่การรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะของกลุ่มใด
กลุ่มหนึ่ง สถานที่รวมตัวพบปะเรียกว่า เวทีประชาคมซึ่งมีลักษณะพหุภาคีเป็นส้าคัญ ชุมชนฐานรากมักเกิดการ
รวมตัวกันเองเบื องต้นจากปัญหาปากท้องและเศรษฐกิจเรียกว่า กลุ่มปากท้อง (ให้พ้นความอดอยาก) อาจพัฒนา
ไปสู่การออมที่เรียกว่า กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อแก้ไขปัญหาอดอยากที่อาจเกิดขึ นเป็นครั งคราวหรือ ออมเพื่อเป็น
สวัสดิการทางสังคม เช่น การเจ็บป่วย ตาย กลุ่มปากท้อง และกลุ่มออมทรัพย์ที่เข้มแข็งสามารถรวมตัวเป็นกลุ่ม
ธุรกิจชุมชน ซึ่งศักยภาพด้านการตลาดที่พึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้ กลุ่มปากท้อง กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มธุรกิจ
เป็นพื นฐานเบื องต้นที่น้าไปสู่การเปลี่ยนแปลงจิตส้านึกแบบพึ่งพาเป็นส้านึกการมีส่วนร่วมพัฒนาไปเป็นชุมชน
ที่พึ่งตนเองและชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนพึ่งตนเองที่เข้มแข็งจะเริ่มพัฒนาไปสู่การมีจิตส้านึกสาธารณะ (ส้านึก
ส่วนรวมที่ไม่ใช่เพื่อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม) การเกิดเครือข่ายชุมชนพึ่งตนเองที่เข้มแข็งและมีเวทีประชาคมส้าหรับ
ชุมชนต่างๆ ที่หลากหลายและผู้คนทั่วไป ซึ่งสนใจในประเด็นสาธารณะต่างๆ ร่วมกันจะน้าไปสู่ความเป็น
ประชาคม อันเป็นอ้านาจประชาชนที่แท้จริงในการท้าให้เกิดดุลยภาพระหว่างอ้านาจรัฐ อ้านาจทุน และอ้านาจ
ประชาชน (ประชาสังคม) มีสภาพธรรมรัฐเกิดขึ น (good governance)
ในบริบทของสังคมไทยซึ่งมีภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและวิกฤตทางสังคมในปัจจุบัน การ
ก่อรูปของประชาคมหรือประชาสังคมควรเร่งพัฒนาชุมชนให้พึ่งตนเองทางเศรษฐกิจและมีความเข้มแข็ง
พร้อมไปกับการพัฒนาจิตส้านึกสาธารณะและการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะต่างๆ ในเวทีประชาคม
แนวคิดเกี่ยวกับชุมชน-ประชาสังคม เกิดขึ นจากสภาพปัญหาของสังคม การที่ประชาชน
ส่วนใหญ่ในสังคมไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายและทิศทางการพัฒนา รวมทั งกิจกรรมสาธารณะ
ซึ่งในอดีตมักจะถูกครอบง้าหรือชี น้าจากภาครัฐ แนวคิดนี ปฏิเสธอ้านาจรัฐซึ่งมีบทบาทอย่างมากมายต่อการ
ตัดสินใจในกิจกรรมทางสังคม รวมทั งปฏิเสธลัทธิปัจเจกชนที่มุ่งแต่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน สาระส้าคัญ
ของแนวคิดนี ก็คือ การรวมกลุ่มของปัจเจกชน โดยมองว่าประชาสังคมเป็นโครงสร้างทางสังคมที่อยู่กึ่งกลาง
ระหว่างรัฐและปัจเจกชนที่เรียกว่า Mediating Structure
15
ทวีศักดิ์ นพเกษร (2542) ยังได้ให้ค้าจ้ากัดความ ประชาคมหรือประชาสังคม หมายถึง
การที่คนในสังคมซึ่งมีจิตส้านึก (Civic Consciousness) ร่วมกัน มารวมตัวกันในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนกัน
15 ทวีศักดิ์ นพเกษร, วิกฤตสังคมไทย 2540 กับบทบาทวิทยากรกระบวนการมีสวนรวม, กรุงเทพฯ : คณะ
อนุกรรมการเสริมสรางความเขมแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปญหาวิกฤต, 2542.