Page 44 - kpi20902
P. 44
43
11
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข แบ่งชุมชนออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
ลักษณะของชุมชนแบ่งตามการบริหารการปกครอง ซึ่งแบ่งโดยการพิจารณาจาก
ลักษณะการปกครองของไทย ได้แก่ ชุมชนหมู่บ้าน ชุมชนเขต สุขาภิบาล ชุมชนเขตเทศบาลต้าบล เทศบาล
เมือง เทศบาลนคร และกรุงเทพมหานคร
ลักษณะของชุมชนแบ่งตามกิจกรรมทางสังคม ได้แก่ ชุมชนเกษตรกรรม ชุมชน
ศูนย์การค้า ศูนย์กลางขนส่ง เขตอุตสาหกรรม ชุมชนศูนย์กลางของการบริการ
ลักษณะของชุมชนแบ่งตามความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม เป็นการแบ่งชุมชนในแง่
ของความสัมพันธ์ทางสังคม ได้แก่ ชุมชนชนบท ชุมชนเมือง
นอกจากการศึกษาชุมชนในลักษณะดังกล่าว ก็สามารถพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน
ได้ทั งแนวนอน (Horizontal) และแนวตั ง (Vertical)
ในแนวนอนนั น รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลหรือระหว่างกลุ่มในระดับท้องถิ่น
ส่วนในแนวตั ง หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับผลประโยชน์หรือกับกลุ่มผลประโยชน์ในระดับ
ต่าง ๆ ที่สูงขึ นไปจนถึงองค์กรในระดับชาติหรือระหว่างชาติ/ประเทศ นอกจากนั น ยังมีวิธีการอื่นอีกในการ
วิเคราะห์ถึงเครือข่ายปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนว่า ปฏิสัมพันธ์ของบุคคลและกลุ่มมีกระบวนการทางสังคมที่
ประกอบด้วยความร่วมมือ การแข่งขัน และความขัดแย้ง ซึ่งมิติการวิเคราะห์เหล่านี ให้คุณค่าที่มีนัยส้าคัญใน
การท้าความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตของชุมชนเป็นอย่างยิ่ง
1.3) ชุมชนในฐานะหน่วยทางจิตวิทยาวัฒนธรรม (Community as a psycho cultural
unit) ในมิตินี เน้นที่ว่าชุมชนจะต้องมีความผูกพันในระหว่างสมาชิกด้วยกัน ความผูกพันนี จะตีความว่าเป็น
ทั งทางด้านจิตวิทยาและวัฒนธรรม ในทางจิตวิทยานั นคนจะมีความมั่นคงเพราะสามารถระบุได้ว่า ตนเป็น
สมาชิกของกลุ่ม หมู่ หรือที่ซึ่งท้าให้เกิดความรู้สึกว่ามีสังกัด อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ในมิตินี ในแนวคิดทาง
สังคมวิทยาก็ถือว่าเป็นเพียงมิติหนึ่งของความเป็นจริงที่ซับซ้อนอยู่ในความหมายของชุมชน มิได้ถือว่าเป็นการ
วิเคราะห์ที่ลึกซึ ง
ซึ่งแนวคิดด้านสังคมวิทยาจะอธิบายค้าว่า ชุมชน ในลักษณะเชิงโครงสร้างที่ท้าให้เห็นภาพ
ที่กว้างๆ ครอบคลุมหลากหลาย รวมถึงลักษณะของการรวมกันเป็นกลุ่มก้อนทางสังคม ที่สามารถด้าเนิน
กิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างมีเหตุมีผล เสมือนหนึ่งเป็นปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง ที่เกิดขึ นเป็น
11 สมศักด์ ศรีสันติสุข, สังคมวิทยา; หลักการศึกษา วิเคราะห์และปฏิบัติงานชุมชน. พิมพ์ครั งที่ 2, ขอนแก่น :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลยขอนแก่น, 2536.