Page 46 - kpi20902
P. 46
45
Hirsch, P. (1993) กล่าวถึง การสร้างชุมชนว่า เป็นการแสดงออกถึงอ้านาจและเป็น
14
วาทกรรมของคนกลุ่มต่างๆ ทั งภายในชุมชนและภายนอกชุมชน ภายใต้เงื่อนไขทางสังคมและประวัติศาสตร์
ของท้องถิ่น ความหมายเกี่ยวกับชุมชนจึงมีทั งความหมายที่หลากหลายและความหมายที่ขัดแย้ง มิได้มีเพียง
ความหมายเดียวหรือความหมายที่เป็นกลาง และไม่ได้ยึดติดกับพื นที่ นัยของการนิยามหมู่บ้านให้ติดกับพื นที่
เกิดขึ นจากการที่รัฐพยายามรวมศูนย์อ้านาจด้วยการท้าให้พื นที่แตกออกเป็นหน่วยเล็กๆ เพื่อง่ายต่อการ
ปกครองสะท้อนให้เห็นกระบวนการที่หมู่บ้านถูกผนวกเข้าสู่ระบบทุนและตลาด
โดยสรุป แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนทางมนุษยนิยมมีลักษณะที่น่าสนใจ คือ
ไม่ได้ให้ความสนใจหรือความส้าคัญกับอาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์หรือพื นที่
เน้นความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์
เน้นลักษณะความรู้สึกเชิงอัตวิสัยของความเป็นชุมชนหรือแบบแผนในอุดมคติซึ่ง
เกี่ยวกับการน้าเสนอลักษณะชุมชนที่ควรจะเป็นชุมชนที่ดีหรือชุมชนในอุดมคตินั่นเอง
แม้ว่าจะมีทัศนะอันหลากหลายเกี่ยวกับชุมชน ก็ยังสามารถสรุปจุดร่วมกันได้ 3 ประการ คือ
เป็นการกล่าวถึง วิวัฒนาการของการสมาคมของมนุษย์ (Human Association)
มีการยอมรับอย่างกว้างขวางว่า การเปลี่ยนแปลงในลักษณะของความเกาะเกี่ยว
ในสังคมมนุษย์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี
ลักษณะหนึ่งของ Human Association จะหายไปและมีลักษณะใหม่มาแทนที่
ยังคงสถานะของความเป็นชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่างน้อยก็มีชื่อเรียก
ที่แสดงออกถึงความคงอยู่ของชุมชนไว้ได้
ซึ่งลักษณะของสองแนวคิดที่น้าเสนอมาค่อนข้างสอดคล้องกับบริบทของชุมชนในสังคมไทย
โดยเฉพาะชุมชนที่มีลักษณะเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ แต่การน้าเสนอที่ผ่านมายังขาดเนื อหาในส่วนของ
การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนไปโดยแนวคิดเสรีนิยมจะให้ความส้าคัญกับเรื่องของความเป็นอิสระ ความ
เป็นเอกภาพ โครงสร้าง พื นที่การคงอยู่แสดงออกถึงความมีตัวตนของชุมชน ในขณะที่แนวคิดที่สอง
ซึ่งละเอียดอ่อนกว่าคือมองถึงความเป็นมนุษย์ ความสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์กับบริบทรอบตัวมากขึ น แต่ยัง
ไม่สามารถอธิบายความคิดเกี่ยวกับเรื่องของการรวมตัวของคนในสังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ก่อให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับชุมชนอีกแนวคิดหนึ่ง ที่เรียกว่า แนวคิดชุมชนประชาคม หรือ ประชาสังคม Civil
Society Perspective
14 Hirsch, P. (1993), The Village in Perspective: Community and Locality in Rural Thailand, Social
Research Institute, Chiang Mai University, 1993.