Page 32 - kpi20902
P. 32
31
2) ความเหลื่อมล ้ามิติด้านเศรษฐกิจ (economic inequality) หมายถึง ความแตกต่าง
ทางรายได้ การกระจายรายได้ หรือการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจเป็นความเหลื่อมล้ า
ที่ชัดเจนที่สุดในบรรดาความเหลื่อมล้ าทั งหมด ความเหลื่อมล้ าด้านเศรษฐกิจที่ส้าคัญได้แก่ ความเหลื่อมล้ า
ด้านรายได้ ความเหลื่อมล้ าด้านทรัพย์สิน ความเหลื่อมล้ าด้านโครงสร้างภาษี และความไม่เท่าเทียมในการ
แข่งขัน ท้าให้สามารถสรุปได้ 3 ด้าน คือ ความเหลื่อมล ้ากันในรายได้และทรัพย์สิน ความเหลื่อมล ้าในการ
บริโภค ความเหลื่อมล ้าในการตัดสินใจท้าการผลิตและแบ่งสรรมูลค่าเพิ่ม ซึ่งความเหลื่อมล ้าในมิติเศรษฐกิจ
นับเป็นความเหลื่อมล ้าที่ค่อนข้างชัดเจนที่สุด เช่น ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงแหล่งทุน การไม่เท่าเทียมกัน
ในการเข้าถึงอาชีพ เป็นต้น
3) ความเหลื่อมล ้ามิติด้านทรัพยากร (resources inequality) หมายถึง ความแตกต่างหรือ
สิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรหรือจัดการทรัพยากรของประชาชน เพื่อใช้เป็นโอกาสหรือใช้เป็นปัจจัยในการ
เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองหรือชุมชนท้องถิ่น ซึ่งในมิตินี เป็นตัวสะท้อนถึงความพยายามในการแยก
หรือยึดโยงความมีอ้านาจเหนือกว่าชุมชนท้องถิ่นของรัฐ ทั งๆ ที่ทรัพยากรดังกล่าวเป็นพื นฐานของการ
ด้ารงชีวิตของชุมชนท้องถิ่นมาตั งแต่ครั งบรรพบุรุษแต่เมื่อเวลาผ่านไปทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าว ได้ถูกบุคคล
หรือกลุ่มบุคคลเรียกร้องเป็นสิทธิส่วนบุคคลจนชุมชนท้องถิ่นไม่สามารถเข้าถึงหรือเข้าไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับ
ตนเองหรือครอบครัวได้
4) ความเหลื่อมล ้ามิติด้านสังคม (social inequality) ซึ่งมีความกว้างในหลากหลายมิติ เช่น
การศึกษา (educated society) หมายถึง การมีวิชาความรู้และความรอบรู้ มีธรรมะ มีหลักคิดที่ถูกต้อง และ
ความมั่นคงในสิ่งที่ถูกต้อง สวัสดิการสังคม (social welfare) หมายถึง เรื่องของสุขภาพ การศึกษา ค่าจ้าง
ขั นต่้า ชราภาพ และทุพพลภาพ ฯลฯ ซึ่งเป็นมาตรการที่รองรับความเสียเปรียบต่างๆ จาก “ความเหลื่อมล ้า
ทางเศรษฐกิจ” แต่มาตรการที่สามารถลดความเข้มข้นของ “ความเหลื่อมล ้าทางสังคม” ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
ก็คือ การปลูกฝัง “จิตส้านึกในการพึ่งพาตนเอง” (a sense of self-reliance)
ซึ่งความเหลื่อมล ้าในมิติต่างๆ ดังกล่าว ในการศึกษาครั งนี อาจจะยังไม่ครอบคลุมในมิติปลีกย่อย
อื่นๆ ที่เล็กลงไปได้ทั งหมด แต่สามารถกล่าวได้ว่ามิติดังกล่าวสามารถเป็นเหตุที่ส่งผลกระทบต่อมิติด้านอื่นๆ
ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ นกับชุมชนท้องถิ่นอย่างบ้านหนองสาหร่าย ซึ่งเป็นความ
พยายามดิ นรนในการที่จะออกจากกรอบของความเหลื่อมล ้าหรือความไม่เท่าเทียมกันในมิติด้านต่างๆ ดังกล่าว
ได้ส้าเร็จในระดับหนึ่ง โดยนักวิจัยจะพยายามรวบรวมข้อมูลโดยการลงไปศึกษาในพื นที่ให้ได้ครอบคลุม
มากที่สุดถึงกระบวนการ ขั นตอนในการท้างานของชุมชมท้องถิ่นบ้านหนองสาหร่าย จนน้าไปสู่การแก้ไขปัญหา
ได้อย่างเป็นรูปธรรม