Page 30 - kpi20902
P. 30
29
3) สมรรถภาพของมนุษย์ (Capabilities Approach)
นักเศรษฐศาสตร์สวัสดิการเจ้าของรางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ปี 1998 อย่างท่าน อมาตยา เซน
(Amartya Sen) คือ ผู้ที่พัฒนาแนวคิดที่ตั งอยู่บนสมรรถภาพของมนุษย์ (Capabilities) คือมีความเชื่อมั่น
ในความเป็นมนุษย์ สิทธิความเท่าเทียมของมนุษย์ที่เกิดมาบนโลก หรือจะกล่าวได้อีกอย่างก็คือ สิทธินั นเกิดมา
พร้อมกับการที่มนุษย์ก้าเนิดขึ นบนโลก ซึ่งบางคนเรียกแนวคิดนี ว่า วิถีการพัฒนามนุษย์ (Human Development
Approach) แนวคิดนี มองว่าทั งความเหลื่อมล ้าทางเศรษฐกิจและความยากจนเป็น “การลิดรอนสมรรถภาพ”
ของมนุษย์ และมองว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจและรายได้เป็นเพียง “เครื่องมือ” ที่จะน้าไปสู่เป้าหมาย
ไม่ใช่ “เป้าหมาย” ในตัวมันเอง แนวคิดนี แตกต่างจากแนวคิดเสรีนิยมใหม่ที่มองว่า “ความเป็นอยู่ที่ดี
(well-being) คือ การบรรลุอรรถประโยชน์สูงสุด (maximum utility)” และอรรถประโยชน์สูงสุดจะบรรลุได้
ก็ต่อเมื่อคนมีรายได้มากขึ นและการความมั่งคั่งสูงที่สุดเท่านั น
สิ่งที่ท่าน Amartya Kumar Sen มองว่าเป็นเป้าหมายของการพัฒนามนุษย์คือ “การมี
อิสรภาพ” ซึ่งมีความหมาย ครอบคลุมกว้างกว่าที่ใช้กันทั่วไป โดยเขาเสนอว่า มนุษย์ทุกคนควรมีอิสรภาพ
ที่ส้าคัญห้าประการด้วยกัน ได้แก่ อิสรภาพทางการเมือง อิสรภาพทางเศรษฐกิจ โอกาสทางสังคม หลักประกัน
ว่าภาครัฐจะมีความโปร่งใส และการคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
Amartya Kumar Sen พยายามชี ให้เห็นว่า เมื่อสมรรถภาพของคนถูกลิดรอน พวกเขาก็จะ
ขาดอิสรภาพ และอิสรภาพห้าประการก็ล้วนส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่าง เช่น คนที่อาศัยอยู่ใน
แหล่งเสื่อมโทรมที่มีอาชญากรชุกชุม (ขาดความปลอดภัยในชีวิต) มักจะมีรายได้น้อยมากเมื่อเทียบกับคนที่
อาศัยอยู่ในถิ่นปลอดภัย (ขาดอิสรภาพทางเศรษฐกิจ) เพราะไม่กล้าออกจากบ้านไปหางานท้า ขนบธรรมเนียม
ประเพณีในบางสังคมที่มองว่าผู้หญิงควรท้าหน้าที่เป็นแม่บ้านท้าให้ผู้หญิงไม่ได้รับการสนับสนุนให้มีการศึกษา
(ขาดโอกาสทางสังคม) ท้าให้พวกเธอออกไปท้างานนอกบ้านไม่ได้และท้างานที่ต้องใช้ความรู้ไม่ได้ (ขาด
อิสรภาพทางเศรษฐกิจ) สังคมที่ไม่มีกลไกให้คนมีส่วนร่วมทางการเมือง (ขาดอิสรภาพทางการเมือง) เพื่อสร้าง
ระบบ “ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ” เป็นสังคมที่สุ่มเสี่ยงว่านักการเมืองจะฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่าง
โจ๋งครึ่ม (ขาดหลักประกันความโปร่งใส) เพราะโกงได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกจับหรือถูกประชาชนลงมติ
ถอดถอน ปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างสมรรถภาพและอิสรภาพด้านต่างๆ แปลว่ายิ่งสังคมมีความเหลื่อมล ้า
เท่าไร ก็ยิ่งปิดช่องว่างได้ยากขึ นเท่านั น เพราะความเหลื่อมล ้าด้านหนึ่งมักจะตอกลิ่มความเหลื่อมล ้าด้านอื่นๆ
ไปพร้อมกันด้วย ด้วยเหตุนี เซนจึงเสนอว่าเป้าหมายของการพัฒนาสังคมและนโยบายรัฐควรอยู่ที่การเพิ่ม
ทางเลือกในการด้ารงชีวิตให้แก่ผู้คน และปรับปรุงระดับความเป็นอยู่ที่ดีในแนวทางที่พวกเขาเลือก ด้วยการ
เพิ่มอิสรภาพในด้านต่างๆ ข้างต้น เพิ่มสมรรถภาพของผู้คนในการใช้อิสรภาพดังกล่าว (เช่น ด้วยการเพิ่มกลไก