Page 28 - kpi20902
P. 28
27
จอห์น รอลส์ (John Rawls) นักปรัชญาการเมืองผู้ทรงอิทธิพลที่สุดหลังสงครามโลกครั งที่
สอง ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของโนซิค (และของสายลิเบอทาเรียนโดยรวม) ซึ่งเชิดชูเสรีภาพของปัจเจกมากกว่า
ความยุติธรรมในสังคมมาก รอลส์น้าเสนอในหนังสือเรื่อง A Theory of Justice (ทฤษฎีความยุติธรรม) ว่า
คนทุกคนควร “แบกรับโชคชะตาร่วมกัน” ด้วยการช่วยเหลือคนที่ยากจนที่สุดและเสียเปรียบที่สุดในสังคม
เพราะทุกคนน่าจะเห็นพ้องต้องกันได้ว่า ถ้าบังเอิญตัวเองเกิดมาเป็นคนจน ก็จะเดือดร้อนมากและอยากให้รัฐ
ยื่นมือช่วย อย่างไรก็ตาม การที่รอลส์เห็นด้วยกับการช่วยเหลือคนที่จนที่สุด ไม่ได้แปลว่าเขาคิดว่าความเหลื่อม
ล ้า (ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย) เป็น “ปัญหา” ที่จ้าเป็นจะต้องได้รับการแก้ไข อันที่จริงรอลส์กล่าวว่า
ภาวะความเหลื่อมล ้าด้านความมั่งคั่งอาจ “ชอบธรรม” ก็ได้ ถ้าหากมันเป็นภาวะที่ปรับปรุงสังคมโดยรวม
รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่จนที่สุดในสังคมด้วย
จอห์น รอลส์ ไม่เคยแจกแจงว่าทฤษฎีความยุติธรรมของเขาแปลว่า สังคมควรจัดการกับ
ความเหลื่อมล ้าหรือไม่อย่างไร นักคิดบางคนตีความว่าข้อเสนอดังกล่าวของรอลส์สนับสนุนระบบทุนนิยมเสรี
เนื่องจากตามทฤษฎี แม้แต่สมาชิกที่จนที่สุดในสังคมก็ยังได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมและความเจริญที่เกิด
ในระบบ แต่นักคิดคนอื่นเชื่อว่ามีเพียง “รัฐสวัสดิการ” ที่เข้มแข็งเท่านั นที่จะท้าให้อุดมคติของรอลส์เป็นจริงได้
ท้าให้แนวคิดของ จอห์น รอลส์ อาจจะเป็นเรื่องที่ยากที่จะน้าไปใช้ได้กับทุกพื นที่ที่มีบริบทที่แตกต่างกัน
โดยเฉพาะรัฐสวัสดิการ รัฐที่มีอ้านาจในการปกครองอาจจะต้องมีความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจอย่างมาก
ไม่อย่างนั นจะกลายเป็นภาระของรัฐที่จะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเป็นจ้านวนมากเกินไปจนน้าไปสู่ความล่มสลาย
ของรัฐในที่สุด
มิลตัน ฟรีดแมน (Milton Friedman) นักเศรษฐศาสตร์ส้านักเสรีนิยมคลาสสิก มองว่ารัฐ
โดยธรรมชาตินั นด้อยประสิทธิภาพกว่าเอกชนและมักจะลุแก่อ้านาจหรือใช้อ้านาจในการควบคุม ดังนั น
จึงเชื่อว่าหากรัฐท้าอะไรก็ตามเพื่อพยายามสร้างความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ เมื่อนั นเสรีภาพทางการเมือง
ของผู้คนก็จะถูกบั่นทอน เขากล่าวอย่างโด่งดังว่าสังคมที่ก้าหนดความเท่าเทียมเป็นเป้าหมายเหนือเสรีภาพ
จะไม่มีทั งสองอย่าง สังคมที่ตั งเป้าหมายที่เสรีภาพก่อนความเท่าเทียมจะมีทั งสองอย่างค่อนข้างสูง
ซึ่งถ้าหากจะพิจารณาจากแนวคิดของส้านักเสรีนิยมเหล่านี จะพบว่า การให้ความส้าคัญกับ
อิสรภาพที่มากจนเกินไป เนื่องจากคิดว่าอิสรภาพจะน้าไปสู่การสร้างความเท่าเทียมได้เพราะเห็นประโยชน์และ
ศักยภาพของเอกชนมากกว่ารัฐ ซึ่งเท่าที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่นในประเทศไทย จะพบว่ารัฐไม่ได้ใช้อ้านาจควบคุม
เอกชนเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชากรเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการร่วมมือกันที่ใช้อ้านาจรัฐให้เกิดการ
เอื ออ้านวยกับเอกชน น้าไปสู่การสร้างความเหลื่อมล ้าที่ก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนเพิ่มมาก
ยิ่งขึ นมากกว่า