Page 24 - kpi20902
P. 24

23



                                                           บทที่ 2


                                           แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง




                        การศึกษาในครั งนี นักวิจัยได้ให้ความส้าคัญกับกระบวนการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นเพื่อแก้ไข

                 ปัญหาความเหลื่อมล ้าที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่นจากความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกที่มีผลต่อ

                 สังคมไทย โดยส่งผลกระทบต่อมิติต่างๆ ในประเทศไทยโดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านเศรษฐกิจ

                 สังคม การเมือง และด้านอื่นๆ รวมถึงการรุกเข้ามาท้าธุรกิจของกลุ่มเอกชนจนส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่

                 ของชุมชน  โดยพิจารณาจากความสามารถในการจัดการตนเอง โดยใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนทั งเรื่อง

                 ของความสัมพันธ์เครือญาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น แกนน้าชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นต้น เนื่องจากชุมชนเป็นฐานราก

                 ที่ส้าคัญของประเทศเป็นหน่วยย่อยๆ ในสังคมที่มีอยู่เป็นจ้านวนมากทั งประเทศ ชุมชนท้องถิ่นจึงกลายเป็นฐาน

                 ที่ส้าคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เหมือนการสร้างตึกสูงยิ่งตึกมีความสูงมากแค่ไหนฐานของตึกก็ยิ่งจ้าเป็น

                 จะต้องกว้างใหญ่ เพื่อรองรับให้ตัวตึกเกิดความแข็งแรงคงทนถาวรนั่นเอง จึงมีความจ้าเป็นที่จะต้องท้าความ

                 เข้าใจเรื่องเกี่ยวกับ “ชุมชน” ให้ชัดเจน รวมถึงพัฒนาการของชุมชน และกระบวนการจัดการตนเองของชุมชน

                 ท้องถิ่น ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล ้าของชุมชนเป็นล้าดับไป โดยในการศึกษาครั งนี จะขอ

                 น้าเสนอแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นล้าดับไป


                 2.1 แนวคิดเรื่อง “ความเหลื่อมล ้า” (Inequality)


                        ความเหลื่อมล ้า (Inequality) เป็นปรากฏการณ์ที่ปรากฏขึ นในสังคมมาทุกยุคทุกสมัยโดยส่วนมาก
                 ความเหลื่อมล ้ามักจะใช้ในการอธิบายปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Problem)


                 รวมถึงสถานะและสภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนในสังคม (หรือประชาชนในหน่วย (Unit) ที่พิจารณา) ที่มี
                 ความแตกต่างกันอันมีพื นฐานมาจากปัจจัยที่หลากหลาย เช่น การศึกษา การลงทุน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน


                 ปัญหาด้านสุขภาพและระบบสวัสดิการ เป็นต้น ปัญหาความเหลื่อมล ้าที่เกิดขึ นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ นกับ

                 ทุกสังคม ทุกชุมชน ไม่มีสังคมใดที่มีความกินดีอยู่ดี มีความเท่าเทียมกันทุกคน ยกเว้นมีปรากฏในสังคมอุดมคติ

                 (Idealized Society) ดังนั น หากมีการกล่าวถึงค้าว่า “ความเหลื่อมล ้า” (Inequality) ท้าให้คนทั่วไปมักจะ

                 คิดถึงค้าว่า “ความยุติธรรมทางสังคม” (Social Justice) ไปด้วย จะอย่างไรก็ตาม ความพยายามในการลด

                 ความเหลื่อมล ้า ซึ่งก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างชีวิตความเป็นอยู่ นับเป็นความท้าทายและเป็นข้อถกเถียง

                 กันมาตลอดไม่ว่าจะอยู่ในช่วงรัฐบาลไหนเข้ามามีอ้านาจในการปฏิบัติหน้าที่ก็ตาม อีกทั งยังเป็นปัญหาที่ท้าทาย
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29