Page 88 - kpi20896
P. 88

87



                               นโยบายฝั่งอุปทานการจ้างงาน  เป็นการสร้างแนวนโยบายที่ส่งผลต่อฝั่งแรงงานเอง

                 โดยหลักการคือ เพิ่มหรือลดแรงต้านของฝั่งนายจ้าง ปรับโครงสร้างศักยภาพแรงงานและการเข้าไปแทรกแซง

                 ค่าจ้างโดยตรง  โดยอาจมีวิธีการ เช่น 1) การเน้นการฝึกอบรมและให้การศึกษา ทั้งนี้การเพิ่มทักษะฝีมือ

                 แรงงาน เป็นสิ่งที่ลดอัตราการว่างงานที่ยั่งยืนในระยาวมากที่สุด โดยแนวทางการให้ทักษะใหม่แก่ผู้ที่มีความ

                 ประสงค์ เช่น คนงานปัจจุบันเพิ่มทักษะจ้าเป็นด้านเทคโนโลยี หรือจะเป็นการเพิ่มทักษะใหม่เข้าไปในผู้ที่ไม่มี

                 ทักษะเดิมอยู่เลยก็ได้ ซึ่งในทุกประเทศทั่วโลกมักมีหน่วยงานด้านสวัสดิการและฝีมือแรงงานเป็นหน่วยงาน

                 รับผิดชอบ อย่างไรก็ดี ผลที่ได้จากการเพิ่มทักษะฝีมือเป็นสิ่งที่วัดได้ยากและไม่แน่ใจในผลลัพธ์ว่ามีขนาดเท่าไร

                 การแสดงผลลัพธ์จึงมีเวลาที่เหลื่อมมากกว่าการใช้นโยบายทางด้านอุปสงค์  2) แทรกแซงกลุ่มสหภาพแรงงาน

                 เพื่อการเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่้า 3) เงินสนับสนุนการจ้างงาน เช่น เงินจูงใจหรือส่วนลดหย่อนภาษี โดยอาจใช้

                 ร่วมกับมาตรการอื่น เช่น การฝึกอบรมอาชีพหรือการเพิ่มพูนทักษะแรงงาน  4) เพิ่มงานภาครัฐโดยตรง กล่าวคือ

                 รัฐกลายเป็นนายจ้างด้วยการสร้างโครงการขึ้นมาเพื่อการจ้างงานโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นมาตรการควบคู่ไปกับ

                 การสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในนโยบายฝั่งอุปสงค์


                               ประเด็นการจ้างงานเพิ่มและลดการว่างงานที่ได้เสนอไว้นั้น เป็นแนวทางปฏิบัติที่สามารถ

                 พบเห็นได้ทั่วโลก อย่างไรก็ตามอุปสรรคส้าคัญของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางทั่วโลกคือ งบประมาณที่มีอยู่

                 ค่อนข้างจ้ากัดและสภาพทุนทางมนุษย์ที่มีช่องว่างอยู่มาก จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างยิ่งของรัฐบาลในกลุ่ม

                 ประเทศรายได้ปานกลางที่จะต้องหาจุดสมดุลที่สุดในการออกแนวนโยบายเพื่อสร้างงานและลดความเหลื่อมล้้า

                 ในท้ายที่สุด


                        5.3.3 นิติธรรมตัวช่วยในการต่อสู้ความเหลื่อมล้้า

                            ประเด็นนิติธรรม หรือความเสมอภาคเท่าเทียมในการบังคับใช้กฎหมาย ของธนาคารโลกนั้น

                 ได้ออกแบบมาเพื่อวัดความเชื่อมั่นในกระบวนการใช้อ้านาจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเอื้อให้เกิดการพัฒนาทาง

                 เศรษฐกิจ โดยนัยนั้น “นิติธรรมเป็นเครื่องมือเร่งกระบวนการควบคุมการทุจริต” กล่าวคือ แม้จะมีความ

                 พยายามในการควบคุมการทุจริตมากเพียงใดก็ตาม หากปราศจากหลักความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมาย

                 ก็มีแนวโน้มที่การควบคุมจะไม่เกิดผลอย่างใดขึ้นเลย เนื่องจากอ้านาจในการบังคับและการลงโทษถูกจ้ากัดไว้


                 ในมือของกลุ่มชนชั้นน้า หรือมีลักษณะอยู่เหนือกฎหมาย ปรากฎการณ์ดังกล่าวพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศ
                 ที่ก้าลังพัฒนาที่ “โครงสร้างของชนชั้นน้ามีสิทธิมีเสียงและมีอ้านาจเหนือกว่ากลุ่มชนชั้นล่างอย่างเหลื่อมล้้า”


                 ซึ่งสอดคล้องกับรายงานบางฉบับของธนาคารโลกที่กล่าวว่า  “ความไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรม
                 ไม่ว่าด้วยช่องทางใดหรือด้วยตัวอ้านาจบังคับที่ติดขัด ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความยากจน


                 ด้วยตัวของมันเอง” (World Bank, 2012) ด้วยนัยดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า การขาดหลักนิติธรรมเป็นปัญหา
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93