Page 85 - kpi20896
P. 85
84
ต่อกระบวนการออกแบบนโยบายของลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและรายได้ต่้า นอกจากนี้ ค่านิยมหลัก
ในการออกนโยบาย เช่น ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความเสมอภาค ความเท่าเทียม ผลในระยะสั้นและระยะ
ยาว ก็เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกกลุ่มเป้าหมายของนโยบายเช่นกัน
วิธีการปกติในการเลือกกลุ่มเป้าหมายในการก้าหนดนโยบายมักใช้ข้อมูลเชิงทฤษฎีและหลักฐาน
เชิงประจักษ์จากการวิจัยมาใช้อ้างอิงในการสร้างพื้นฐานเชิงเหตุผล ยกตัวอย่างเช่น ผลงานวิจัยหรือทฤษฎี
ที่น้าไปสู่ข้อสรุปว่า เพศ หรือความเชื่อด้านศาสนา หรือวัฒนธรรม หรืออื่นๆ มีผลต่อการยอมรับนโยบายและ
การน้านโยบายไปปฏิบัติ ผู้ก้าหนดนโยบายก็จะพยายามจ้าแนกความแตกต่างตามประเด็นที่เชื่อถือและ
เลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะน้านโยบายไปใช้ตามคุณค่าที่ก้าหนดไว้ หรือในมุมมองที่กว้างขึ้นการสร้างนโยบาย
อาจมองบริบทในเชิงพื้นที่ (Area- base design approach) ซึ่งการจ้าแนกในเชิงพื้นที่จะน้าไปสู่แนวทางการ
สร้างนโยบายที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นการที่ผู้มีหน้าที่ก้าหนดนโยบาย
มุ่งจ้าแนกและออกแบบกลุ่มเป้าหมายที่จะสามารถน้านโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผลส้าเร็จได้นั้น หากใช้แนวคิด
เชิงการทดลองสิ่งนั้นก็คือ “การสร้างตัวแปรควบคุมที่ถูกต้องและเพียงพอ” เพื่อเป็นหลักประกันว่าผลลัพธ์จาก
การใช้นโยบายจะเกิดจากตัวนโยบายเองไม่ใช่เกิดจากปัจจัยอื่น อย่างไรก็ตามสภาพแวดล้อมทางนโยบาย
ที่มีปัจจัยเกี่ยวข้องจ้านวนมากเข้ามาแทรกแซง ท้าให้การออกแบบท้าได้ดีที่สุดเพียงลักษณะที่เรียกว่า
“Quasi-Experiment” ซึ่งมีข้อจ้ากัดเรื่อง Randomization ที่ถือเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินว่า
Intervention ซึ่งในที่นี้หมายถึง Policy ที่ใช้นั้นมีผลต่อกลุ่มเป้าหมายมากน้อยเพียงใด (Brown CH. et al.,
2009) ดังนั้นสิ่งส้าคัญที่สุดของ Quasi-Experiment Design-Base (QED) คือการพยายามออกแบบเพื่อ
ควบคุมตัวแปรที่เข้ามาแทรกแซงและการเลือกตัวอย่างที่ใกล้เคียงกับสภาพ Randomization มากที่สุด
หรือก็คือ การค้านึงถึง Internal validity และ External validity ในการออกแบบนโยบายนั่นเอง ทั้งนี้วิธีการ
ที่นิยมใช้เพื่อปรับปรุงออกแบบให้เกิดแนวทางที่ดีที่สุดที่สามารถพบเห็นได้บ่อย ได้แก่ 1) Prepost Design
ซึ่งถือเป็นตัวแบบพื้นฐานของ QED ซึ่งใช้หลักการในการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการน้านโยบายไปปฏิบัติและ
เทียบผลกันระหว่างส่วนที่ใช้นโยบายและไม่ได้ใช้นโยบาย ข้อด้อยส้าคัญของวิธีการดังกล่าวคือหากไม่คิด
ให้รอบคอบจะไม่สามารถจ้าแนกได้เลยว่าใครเป็นผู้ที่ได้รับผลของนโยบายในพื้นที่ควบคุม กระบวนการ
วางแผนจึงมีความส้าคัญที่สุดในการวัด Internal validity และ External validity นอกจากนี้ช่วงเวลาในการ
เก็บข้อมูลก่อนและหลังอาจมีปัจจัยอื่นเข้ามากระทบท้าให้ความแปรปรวนจากปัจจัยภายนอกเป็นสิ่งที่
ไม่สามารถควบคุมได้ ส้าหรับข้อดี คือ เป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวก รวมทั้งประหยัด 2) Interrupted time
series Design เป็นกระบวนการที่ให้ความส้าคัญกับช่วงเวลาและจุดสังเกต กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการท้า
Prepost design ในหลายช่วงเวลาต่อเนื่องกันเพื่อสังเกตผลจากการแทรกแซง (Intervention) ที่ได้