Page 80 - kpi20896
P. 80
79
5.2.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสัดส่วนการกระจายรายได้ไปสู่กลุ่มผู้มีรายได้ต่้าที่สุดร้อยละ 10
สืบเนื่องจากแบบจ้าลองก่อนหน้าที่ให้ผลการทดสอบถึงปัจจัยที่มีผลต่อสัมประสิทธิ์ความ
เหลื่อมล้้าซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นในเชิงภาพรวมของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง ผู้วิจัยจึงพยายามมองหาปัจจัย
ที่ลึกซึ้งและเฉพาะเจาะจงมากขึ้นในการแสวงหาวิธีการเพื่อลดความเหลื่อมล้้าด้านรายได้ ทั้งนี้ภายใต้ข้อมูล
ชุดเดียวกัน มีตัวแปรหนึ่งที่ถือเป็นประเด็นส้าคัญของการเกิดความเหลื่อมล้้าในระดับภาพรวมประเทศต่างๆ
คือ สัดส่วนการกระจายรายได้ไปสู่กลุ่มผู้มีรายได้ต่้าที่สุดร้อยละ 10 (Income Share Held by Lowest 10%)
ซึ่งประชากรกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงและประสบปัญหาจากความเหลื่อมล้้าสูงที่สุด จากการ
วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปพบว่าตัวแปรสัดส่วนของการกระจายรายได้ไปยังช่วงชั้นล่างสุดร้อยละ 10 อยู่ระหว่าง
0.80 (Honduras, 2011) ถึง 4.50 (Ukraine, 2014) โดยหลักการนั้นหากมีคน 100 คนและมีเงินอยู่ 100
บาท โดยที่มีการแบ่งออกเป็นสิบกลุ่มเท่าๆ กันคือกลุ่มละ 10 คน และมีการเฉลี่ยที่ดีที่สุดคือกลุ่มละ 10 บาท
เท่าเทียมกัน อย่างไรก็ดีในชุดข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่อยู่ในกลุ่มล่างที่สุดเมื่อแบ่งตามรายได้หรือก็คือกลุ่มคน
ที่จนที่สุดมีเงินเพียง 80 สตางค์ในกรณีประเทศฮอนดูรัสในปี 2011 และมีเพียง 4.5 บาท ในกรณีอาศัยอยู่ใน
ประเทศยูเครนในปี 2014 ทั้งนี้ไม่ว่ามองมุมใด ตัวแทนจากกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางมีความน่ากังวล
ในประเด็นการกระจายรายได้ ดังนั้นการทดสอบว่าปัจจัยใดจะช่วยส่งเสริมการกระจายรายได้ไปยังกลุ่มคน
ที่อยู่ช่วงชั้นล่างสุด จึงยิ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งผลการทดสอบปัจจัยที่ส่งผลมีดังนี้
5.2.2.1 ผลการทดสอบวิธีการประมาณค่าและสรุปผลจากแบบจ้าลอง
ในขั้นตอนการทดสอบแบบจ้าลองจ้าเป็นต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการประมาณการโดยใน
งานวิจัยใช้วิธีการของ Hausman (1978) ในการทดสอบซึ่งแสดงผลว่าวิธีการประมาณการแบบ Random
Effect เหมาะสมกับแบบจ้าลอง หมายถึงชุดของสมการและการประมาณค่าสามารถใช้กับกลุ่มประเทศ
ตัวอย่างได้ทั้งกลุ่ม จากนั้นจึงท้าการทดสอบแบบจ้าลองในขั้นตอนต่อไปและพบว่า มีเพียงสองตัวแปรเท่านั้น
ที่มีอิทธิพลต่อสัมประสิทธิ์ความเหลื่อมล้้าได้อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ รายจ่ายของรัฐบาล
สุดท้ายต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GGEXPEN) และดัชนีหลักนิติธรรม (ROL) ซึ่งสามารถแยกประเด็น
เพื่อน้าเสนอได้ดังนี้
รายจ่ายของรัฐบาลสุดท้ายต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GGEXPEN) เป็นตัวแปร
ที่หมายถึง รายจ่ายทั้งสิ้นของรัฐในการซื้อสินค้าและการบริการ รวมไปถึงค่าจ้างที่เกิดขึ้นทั้งในภาครัฐและ
เอกชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนจากผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ทั้งนี้จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่ามีสัดส่วนการใช้จ่ายอยู่
ระหว่างร้อยละ 8.80 (Paraguay, 2010) ถึง 24.46 (Georgia, 2009) นั่นหมายถึงในปี 2009 รัฐบาลของ
ประเทศจอร์เจีย มีมูลค่าการใช้จ่ายถึง 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ซึ่งโดยทั่วไปนั้นนักวิชาการ