Page 76 - kpi20896
P. 76
75
บทที่ 5
สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
5.1 ภาพรวมของงานวิจัย
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระจายรายได้ของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง
ทั่วโลก จากการแบ่งระดับโดย World Bank ซึ่งใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลระดับสากล เช่น ธนาคารโลก
และองค์การสากลอื่น ในช่วงปี ค.ศ.2009-2017 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ท้าให้เกิดความเหลื่อมล้้า
ของรายได้ของประชาชนในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางของโลก เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องของตัวแปร
ธรรมาภิบาลว่าส่งผลต่อความเหลื่อมล้้าในการกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกันของประชาชนในกลุ่มประเทศ
ที่ศึกษาอย่างไร และเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เกิดจากการสังเคราะห์ปัจจัยส้าคัญที่ก่อให้เกิด
การกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันของประชาชนในกลุ่มประเทศที่ศึกษา
เพื่อตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ก้าหนดไว้ ผู้วิจัยได้ท้าการทบทวนวรรณกรรมและศึกษางานวิจัย
ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างกรอบแนวคิดของงานวิจัย เพื่อก้าหนดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหลื่อมล้้าของประเทศ
ที่ท้าการศึกษา ทั้งนี้ในประเด็นความเหลื่อมล้้า ผู้วิจัยมุ่งเน้นการศึกษาความเหลื่อมล้้าด้านรายได้ซึ่งเป็นปัญหา
ที่พบมากในประเทศกลุ่มรายได้ปานกลาง ทั้งนี้ในระดับสากลนั้นนิยมใช้การวัดค่าสัมประสิทธิ์ความเหลื่อมล้้า
(GINI Coefficient) เป็นเครื่องมือในการศึกษาความเหลื่อมล้้าทางรายได้ จึงน้าไปสู่การก้าหนดตัวแปรตาม
ในงานวิจัยชิ้นนี้ ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมเพื่อมองหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสัมประสิทธิ์ความเหลื่อมล้้า
ซึ่งสามารถแยกกลุ่มตัวแปรเพื่อน้าไปสู่การทดสอบได้ คือ 1) กลุ่มปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ได้แก่
สัดส่วนการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมจากการจ้างงานรวม (EMP_INDUST) และค่าเงินเฟ้อรายปีต่อเนื่อง
(Inf_Linked) 2) กลุ่มปัจจัยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้มวลรวมประชาชาติตามการค้านวณ
ค่าเงินสากล (GNI_PPINTER) 3) ปัจจัยด้านโลกาภิวัตน์ ได้แก่ สัดส่วนการส่งออกสินค้าและการบริการต่อ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Ex_GS) และเงินลงทุนสุทธิจากนอกประเทศตามค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา
(FOREIGN) 4) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ สัดส่วนการว่างงานจากประชากรวัยแรงงาน (UNEMT)
และสัดส่วนประชากรที่อาศัยในชุมชนเมืองจากจ้านวนประชากร (URBAN_TP) 5) ปัจจัยด้านธรรมาภิบาล
ได้แก่ ดัชนีการควบคุมการทุจริต (COFC) และดัชนีการมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชนและความสามารถตรวจสอบ
ได้ (VOICE)
ในการวิเคราะห์เพื่อเป็นการค้นหาตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่เน้นการศึกษาความเหลื่อมล้้าและ
การกระจายรายได้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงสร้างแบบจ้าลองด้วยตัวแปรอีกชุดหนึ่งที่มุ่งศึกษาการกระจาย