Page 78 - kpi20896
P. 78
77
5.2.1.2 ผลการทดสอบวิธีการประมาณค่าและสรุปผลจากแบบจ้าลอง
ในขั้นตอนการทดสอบแบบจ้าลองจ้าเป็นต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการประมาณการโดยใน
งานวิจัยใช้วิธีการของ Hausman (1978) ในการทดสอบซึ่งแสดงผลว่าวิธีการประมาณการแบบ Random
Effect เหมาะสมกับแบบจ้าลอง หมายถึงชุดของสมการและการประมาณค่าสามารถใช้กับกลุ่มประเทศ
ตัวอย่างได้ทั้งกลุ่ม จากนั้นจึงท้าการทดสอบแบบจ้าลองในขั้นตอนต่อไปและพบผลว่า มีเพียงสองตัวแปร
เท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อสัมประสิทธิ์ความเหลื่อมล้้าได้อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ สัดส่วน
การว่างงานจากประชากรวัยแรงงาน (UNEMT) รายได้มวลรวมประชาชาติตามการค้านวณค่าเงินสากล
(GNI_PPINTER) ซึ่งทั้งสองปัจจัยมีทิศทางและให้ผลที่มีความสอดคล้องกับทฤษฎีที่ได้ท้าการทบทวนไว้ และ
หากแยกประเด็นในการวิเคราะห์จะสามารถเสนอได้ดังนี้
สัดส่วนการว่างงานจากแรงงานทั้งหมด (UNEPMT) เป็นตัวแปรที่หมายถึงสัดส่วนของ
การว่างงานเมื่อคิดจากก้าลังแรงงานทั้งหมดในประเทศหนึ่ง ซึ่งพร้อมที่จะท้างานหรือรอการจ้างงาน ดังนั้น
การว่างงานที่เกิดจากความสมัครใจจะไม่ได้นับรวมเพื่อค้านวณ ตัวแปรสัดส่วนการว่างงานเป็นตัวแปร
ที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการศึกษาในกลุ่มประเทศยากจนและรายได้ปานกลางเพราะโดยหลักการทั่วไปนั้น
การว่างงานที่มากขึ้นจะเป็นผลโดยตรงต่อรายได้และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตามหากเป็น
ประเทศที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สูง มักพบว่าจะเป็นประเทศที่มีระดับการว่างงานที่สูง ดังนั้น
ตัวแปรดังกล่าวจึงมักนิยมและได้รับความสนใจในการศึกษาในกลุ่มประเทศก้าลังพัฒนาดังเช่นงานวิจัยชิ้นนี้
ส้าหรับข้อมูลทั่วไปของตัวแปรในการศึกษา พบว่าอัตราการว่างงานของกลุ่มตัวอย่างอยู่ระหว่างร้อยละ 19
(Armenia, 2010) ไปจนถึงร้อยละ 0.49 (Thailand, 2013) นั่นหมายถึงประเทศไทยในปี 2013 นั้นมีแรงงาน
ที่ว่างงานเพียง 5 คนจากแรงงานในระบบ 1,000 คน
อัตราการว่างงานและความเหลื่อมล้้า สามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์ได้สองแนวทาง คือ
1) การว่างงานที่น้าไปสู่ความเหลื่อมล้้าที่เป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันของระดับการพัฒนา
ทางเศรษฐกิจ เช่น ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีหรือวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งสภาวะดังกล่าวน้าไปสู่การตกงาน
อย่างฉับพลันน้าไปสู่อัตราการว่างงานที่สูงขึ้น และกระทบรายได้และเกิดความเหลื่อมล้้าทางรายได้ในท้ายที่สุด
2) ศึกษาระดับการว่างงานที่มีผลโดยตรงต่อความเหลื่อมล้้า ซึ่งไม่ว่ามองในแง่มุมใดในทางทฤษฎีนั้นระดับการ
ว่างงานก็น้าไปสู่ความเหลื่อมล้้าในท้ายที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศรายได้ต่้าที่จะพบว่าโครงสร้างการ
ว่างงานที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบโดยตรงต่อความเหลื่อมล้้าทางรายได้โดยเฉพาะกลุ่มคนในช่วงชั้นรายได้ระดับล่าง
(Björklund, 1991; González and Menendez, 2000) โดยมีค้าอธิบายเพิ่มเติมว่าระดับการพัฒนาทาง
เศรษฐกิจท้าให้ประเทศจ้าเป็นต้องใช้แรงงานฝีมือสูง ทักษะสูง ซึ่งส่งผลให้เกิดการตกงานและระดับการว่างงาน