Page 79 - kpi20896
P. 79
78
ที่สูงขึ้นซึ่งเป็นผลให้เกิดความเหลื่อมล้้าในท้ายที่สุด (Whiteford and Van Seventer, 2000; Heathcote et
al., 2010; Maestri and Roventini, 2012) โดยผลดังกล่าวมักพบในประเทศที่อยู่ในกลุ่มรายได้ต่้าและ
ปานกลางของโลก ซึ่งเป็นผลที่สอดคล้องกับงานวิจัยชิ้นนี้ที่ว่า สัดส่วนการว่างงานที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อระดับความ
เหลื่อมล้้าทางรายได้
รายได้มวลรวมประชาชาติตามการค้านวณค่าเงินสากล (GNI_PPINTER) เป็นตัวแปร
ที่หมายถึง รายได้สุทธิมวลรวมประชาชาติที่แปลงเป็นค่าเงินมาตรฐานสากลด้วยการค้านวณอ้านาจการซื้อจริง
จากค่าเงิน ซึ่งนับมูลค่าเพิ่มในปริมาณรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งข้อมูลทั่วไปของตัวแปรที่ใช้
ในการศึกษาพบว่ามีรายได้มวลรวมประชาชาติอยู่ระหว่าง 1.39 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (Kyrgyz Republic,
2010) ถึง 261 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (Indonesia, 2014)
รายได้มวลรวมประชาชาติเป็นสิ่งสะท้อนส้าคัญของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งส้าหรับ
ประเทศรายได้ต่้าและรายได้ปานกลางนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่ประเทศยังเป็นประเทศ
ยากจน ท้าให้เกิดโครงสร้างการพัฒนาที่บิดเบี้ยว กล่าวคือระดับการพัฒนาที่รวดเร็วอย่างก้าวกระโดดท้าให้
เกิดความเหลื่อมล้้าของรายได้ที่เพิ่มสูงมากขึ้น ผ่านกระบวนการผลิตที่ประเทศเหล่านั้นไม่สามารถเป็นเจ้าของ
เทคโนโลยีได้ ผลประโยชน์จึงมักไปตกแก่คนที่มีทุนทางสังคมสูงหรือคนร่้ารวย เทคโนโลยีในที่นี้หมายความ
รวมไปถึงความรู้และทักษะในการท้างาน กระบวนการดังกล่าวส่งผลจากแรงงานที่ย้ายมาจากภาคการเกษตร
ที่ไม่สามารถเป็นเจ้าของเทคโนโลยีได้และไม่สามารถพัฒนารายได้ของตนเอง ในขณะที่ผู้ที่มีทุนทางสังคม
และสามารถสร้างทักษะและเป็นเจ้าของเทคโนโลยีได้ก็จะกลายเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่าง
ก้าวกระโดด อย่างไรก็ดีระดับของการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีก็เป็นเพียงระดับกลาง ซึ่งเจ้าของเทคโนโลยี
ระดับสูงยังเป็นของต่างชาติหรือผู้ที่ถือครองที่แท้จริง ดังนั้นในภาพรวมท้ายที่สุดประเทศเหล่านั้นนอกจาก
จะไม่สามารถยกระดับรายได้ของตนเองได้แล้ว ยังเกิดภาวะความเหลื่อมล้้าทางรายได้ที่สูงขึ้น ซึ่งเรียกกันว่า
"กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” (C.Climent, A., 2010; Dabla Norris, et. al, 2015; Easterly, 2007)
โดยผลการศึกษาดังนี้ สามารถพบเห็นได้ในหลายช่วงเวลา และพบได้ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและต่้า
ที่มีผลในลักษณะใกล้เคียงกัน (Barro, 1991; Swank, 1996; Blanchard and Perotti, 2002) ซึ่งสอดคล้อง
กับงานวิจัยชิ้นนี้ที่พบว่ารายได้มวลรวมประชาชาติมีผลท้าให้เกิดความเหลื่อมล้้าที่เพิ่มขึ้น