Page 77 - kpi20896
P. 77
76
รายได้ไปสู่ผู้ที่เสียเปรียบในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง โดยใช้ตัวแปรสัดส่วนการกระจายรายได้ไปสู่กลุ่ม
ผู้มีรายได้ต่้าที่สุดร้อยละ 10 (Inshare_Lowest) เป็นตัวแทนของการกระจายรายได้ที่มีความเหลื่อมล้้า และ
ภายในแบบจ้าลองซึ่งเป็นปัจจัยเชิงสาเหตุ ประกอบไปด้วย รายได้มวลรวมประชาชาติตามการค้านวณค่าเงิน
สากล (GNI_PPINTER) สัดส่วนการว่างงานจากประชากรวัยแรงงาน (UNEMT) ซึ่งเป็นสองปัจจัยที่พบว่า
มีอิทธิพลในส่วนก่อนหน้า รวมไปถึงรายจ่ายของรัฐบาลสุดท้ายต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GGEXPEN)
และดัชนีธรรมาภิบาลที่เกี่ยวข้อง คือ ดัชนีหลักนิติธรรม (ROL) ดัชนีประสิทธิผลของรัฐบาล (GOVEF) และ
ดัชนีคุณภาพของกฎหมาย (REG_QE)
ด้วยความจ้ากัดของข้อมูลที่จะต้องใช้ข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Balance Panel Data เพื่อความสมบูรณ์
ของการวิเคราะห์แบบจ้าลองท้าให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ในประเด็นปัจจัยที่มีผลต่อค่าสัมประสิทธิ์ความ
เหลื่อมล้้า (GINI Coefficient) และปัจจัยที่มีผลต่อสัดส่วนการกระจายรายได้ไปสู่กลุ่มผู้มีรายได้ต่้าที่สุดร้อยละ
10 (Inshare_Lowest) เหลือเพียง 18 ประเทศจาก 101 ประเทศ ในช่วงเวลาปี 2009-2014 จากความ
ต้องการในการศึกษาในช่วงปี 2009-2017 อย่างไรก็ตามสัดส่วนประเทศกลุ่มตัวอย่างที่ใช้กับสัดส่วนประเทศ
ที่เป็นประชากรไม่แตกต่างกันมากนัก รวมไปถึงจ้านวนปีก็เพียงพอที่จะใช้ในการวิเคราะห์แบบจ้าลองได้
5.2 สรุปผลการวิจัย
จากการทดสอบแบบจ้าลองซึ่งได้แสดงผลการวิเคราะห์ไว้ในบทก่อนหน้า สามารถน้าผลดังกล่าว
มาน้าเสนอเพื่อตอบวัตถุประสงค์ในงานวิจัยได้ดังนี้
5.2.1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าสัมประสิทธิ์ความเหลื่อมล้้า (GINI Coefficient)
ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ในแบบจ้าลองเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Panel Data ซึ่งต้องท้าการทดสอบ
คุณสมบัติที่เหมาะสมก่อนการประมาณค่าโดยสามารถน้าเสนอเป็นล้าดับดังนี้
5.2.1.1 การทดสอบ Panel Unit Root
การทดสอบความนิ่งของข้อมูลหรือ Panel Unit Root test ในงานวิจัยชิ้นนี้ใช้วิธีการ
ทดสอบ ประกอบไปด้วยวิธี LLC Test, IPS Test, Fisher-ADF และ Fisher-PP ซึ่งในภาพรวมนั้นวิธีการ
ทดสอบส่วนใหญ่บ่งชี้ว่าตัวแปรที่ใช้ในแบบจ้าลองมีลักษณะแบบ non – stationary ที่ระดับปกติ หรือระดับ I
(0) และเมื่อท้าการทดสอบหลังจากการจัดการข้อมูลให้อยู่ในระดับ I (1) ตัวแปรจะมีความนิ่ง การทดสอบ
แบบจ้าลองจึงกระท้าได้ที่ระดับ I (1)