Page 72 - kpi20896
P. 72
71
ของสัดส่วนรายได้ของประชากรในช่วงชั้นที่ต่้าที่สุดที่คิดค้านวณเป็นร้อยละ 10 ของประชากร ซึ่งนอกจาก
จะท้าให้เกิดการตอบโจทย์งานวิจัยที่ต้องการมุ่งศึกษาความเหลื่อมล้้าได้มากขึ้น การทดสอบในส่วนนี้ยังท้าให้
เห็นแนวทางพัฒนาส้าคัญ เนื่องจากประชากรในกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มประชากรที่มีความอ่อนไหวต่อสภาพความ
เป็นพลเมืองอย่างที่สุด มองในมุมกลับนั้นการมุ่งหาแนวทางเพื่อลดหรือเพิ่มสัดส่วนการมีรายได้ที่สูงขึ้น
ของกลุ่มอื่น กลับจะยิ่งท้าให้ความเหลื่อมล้้าเพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุผลทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงตรรกะ จึงน้าไปสู่การ
สร้างแบบจ้าลองขึ้น ดังนี้
4.2.1 การทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสัดส่วนการกระจายรายได้ไปสู่กลุ่มผู้มีรายได้ต่้าที่สุด
ร้อยละ 10
ในเบื้องต้นกลุ่มประชากรและชุดข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นข้อมูลชุดเดียวกันกับแบบจ้าลอง
ในการวิเคราะห์ส่วนก่อนหน้า นั่นคือ ในการหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสัดส่วนการกระจายรายได้ไปสู่กลุ่มผู้มี
รายได้ต่้าที่สุดร้อยละ 10 เป็นข้อมูลที่มีลักษณะ Balance Panel Data ที่ประกอบไปด้วยจ้านวนกลุ่มตัวอย่าง
18 ประเทศซึ่งเก็บข้อมูลระหว่างปี 2009-2014 นั่นคือเหลือจ้านวนตัวอย่าง 108 ตัวอย่าง ทั้งนี้ตัวแปรสัดส่วน
การกระจายรายได้ของช่วงชั้นที่ต่้าที่สุดร้อยละ 10 เป็นตัวสะท้อนความเหลื่อมล้้าได้ดีที่สุดตัวแปรหนึ่ง
ซึ่งนอกจากจะท้าให้เห็นผลประโยชน์ที่กระจายไปยังกลุ่มล่างแล้ว กลุ่มคนที่ยากจนที่สุดมักจะมีแง่มุมความ
เปราะบางต่อสิทธิขั้นพื้นฐานอื่นอีกด้วย ค้าถามส้าคัญในการทดสอบแบบจ้าลองในส่วนนี้ คือ ปัจจัยแวดล้อม
ด้านธรรมาภิบาลอื่นที่นอกเหนือไปจากปัจจัยที่เคยได้ท้าการวิเคราะห์และการบริโภครวมของรัฐบาลในแต่ละ
ประเทศในกลุ่มรายได้ปานกลาง มีผลท้าให้เกิดความเหลื่อมล้้าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่ ดังนั้นการทดสอบ
ตัวแปรในประเด็นนี้ จึงมีส่วนเชื่อมต่อจากการทดสอบในส่วนก่อนหน้าด้วยการน้าเอาประเด็นที่พบว่ามีผล
ต่อการลดสัมประสิทธิ์ความเหลื่อมล้้าเข้าร่วมในการทดสอบแบบจ้าลอง โดยสามารถอธิบายด้วยชุดตัวแปร
ดังต่อไปนี้
การทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสัดส่วนการกระจายรายได้ไปสู่กลุ่มผู้มีรายได้ต่้าที่สุดร้อยละ 10
เป็นการใช้ข้อมูลแบบ Balance Panel Data Analysis โดยมีตัวแปรในการวิเคราะห์คือ สัดส่วนการกระจาย
รายได้ไปสู่กลุ่มผู้มีรายได้ต่้าที่สุดร้อยละ 10 (Inshare_Lowest) รายได้มวลรวมประชาชาติตามการค้านวณ
ค่าเงินสากล (GNI_PPINTER) สัดส่วนการว่างงานจากประชากรวัยแรงงาน (UNEMT) ซึ่งสองปัจจัยที่พบว่า
มีอิทธิพลในส่วนก่อนหน้า รวมไปถึงรายจ่ายของรัฐบาลสุดท้ายต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GGEXPEN)
และดัชนีธรรมาภิบาลที่เกี่ยวข้อง คือ ดัชนีหลักนิติธรรม (ROL) ดัชนีประสิทธิผลของรัฐบาล (GOVEF) และ
ดัชนีคุณภาพของกฎหมาย (REG_QE)