Page 82 - kpi20896
P. 82
81
2009) ถึง 0.564 (Costa Rica, 2009) ทั้งนี้ประเด็นของดัชนี Rule of Law เป็นตัววัดที่มุ่งเน้น “การบังคับใช้
กฎหมายอย่างเสมอภาค” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ “ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมเชิงสถาบันที่เอื้อต่อการพัฒนา
เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นเป้าหมายของ World Bank ในการออกแบบชุดตัวแปร Good Governance
Indicator หรือ ตัววัดธรรมาภิบาลของธนาคารโลก
เมื่อกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างหลักนิติธรรมกับความเหลื่อมล้้า ถือเป็นประเด็นที่มี
หลักฐานเชิงประจักษ์น้อยมาก และไม่มีหลักฐานว่ามีกระบวนการหรือความสัมพันธ์กันอย่างไร อย่างไรก็ดี
งานส่วนหนึ่งที่แสดงผลเชิงลบของการมีระดับนิติธรรมที่ต่้าซึ่งส่งผลต่อระดับความเหลื่อมล้้า (Barro, 2000;
Moreno et al., 2003) การค้นพบผลเชิงบวกของหลักนิติธรรมที่มีต่อการเพิ่มการกระจายรายได้ไปสู่กลุ่มช่วง
ชั้นล่างสุดร้อยละ 10 ด้วยหลักวิธีที่ถูกต้อง จึงเป็นการขยายขอบเขตเชิงวิชาการให้เกิดข้อพิสูจน์มากขึ้น
ค้าอธิบายอื่นที่ง่ายที่สุดคือกระบวนว่าหลักการท้างานอย่างไรเพื่อน้าไปสู่ความเหลื่อมล้้าที่ลดลง คือ การที่
ประเทศมีนิติธรรม หรือความศักดิ์สิทธิ์และเสมอภาคของกฎหมายที่ถือเป็นหลักการสูงสุดแก่ทุกคนในประเทศ
ท้าให้การรั่วไหลของรายจ่าย งบประมาณ และสิทธิที่พึงมีของประชาชนเป็นไปอย่างถูกต้องชอบธรรม หรือการ
กล่าวอีกนัยหนึ่งนั้น การที่ประเทศมีนิติธรรมในระดับสูง เป็นเหมือนการสร้างสารหล่อลื่นให้กับประเทศในการ
พัฒนาและกระจายประโยชน์ไปยังผู้ด้อยโอกาส ในหลายกรณีจะพบเห็นได้ว่า การกระจายผลประโยชน์ไปยัง
ประชากรส่วนที่ด้อยโอกาสมักพบกับการทุจริตโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งนี้หากประเทศมีระดับนิติธรรมที่สูง
การทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐก็จะกระท้าได้ยากขึ้น เป็นต้น
5.3 อภิปรายผลการวิจัย
จากผลการทดสอบทางสถิติและการอภิปรายผลในส่วนก่อนหน้า ท้าให้ผู้วิจัยสามารถสังเคราะห์
ประเด็นส้าคัญของงานวิจัยชิ้นนี้ ในประเด็นปัจจัยที่มีผลต่อค่าสัมประสิทธิ์ความเหลื่อมล้้า และผลที่มีต่อ
สัดส่วนการกระจายรายได้ไปยังช่วงชั้นล่างสุดร้อยละ 10 โดยสามารถน้าเสนอได้คือ
5.3.1 จ่ายให้ใครส้าคัญกว่าจ่ายเท่าไหร่ : ผลพวงจากรายได้ที่มากขึ้น
จากข้อค้นพบที่ว่า รายได้มวลรวมที่เพิ่มขึ น และรายการใช้จ่ายรวมของรัฐบาลที่เพิ่มขึ น
ต่างส่งผลเชิงลบต่อความเหลื่อมล ้าในภาพรวมและการกระจายรายได้ไปยังกลุ่มช่วงชั นที่อยู่ล่างสุด
ร้อยละ 10 ซึ่งทั้งสองประเด็นเป็นส่วนที่เกิดขึ้นอย่างเป็นตรรกะ เมื่อมีรายได้มากขึ้นผลิตได้มากขึ้นย่อมมีการ
ใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้น จึงเกิดประเด็นให้ขบคิดขึ้นว่า “ยิ่งร่้ารวยยิ่งเหลื่อมล ้าหรือไม่” ซึ่งในข้อเท็จจริงนั้น
กลุ่มประเทศที่อยู่ในระดับ “กลุ่มรายได้ปานกลางมีความเหลื่อมล ้าตามตัวชี วัดมากที่สุด” ปรากฏการณ์
ดังกล่าวไม่ควรเกิดขึ้นหากข้อความว่ายิ่งร่้ารวยยิ่งเหลื่อมล้้าเป็นจริง ประเทศในกลุ่มรายได้สูงน่าจะเป็นกลุ่มที่
มีระดับความเหลื่อมล้้ามากที่สุด ประเด็นที่จะต้องพิจารณาต่อไปคือ แท้จริงความเหลื่อมล้้าเกิดจากเหตุอะไร