Page 93 - kpi20896
P. 93
92
5.5 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
ความเหลื่อมล้้าเป็นปัญหาส้าคัญอย่างหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางทั่วโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเทียบกับประเทศในกลุ่มอื่น จะพบว่าปัญหาความเหลื่อมล้้าด้านรายได้ของกลุ่มประเทศ
รายได้ปานกลางเป็นกลุ่มที่มีปัญหามากที่สุด ความเหลื่อมล้้าด้านรายได้จึงกลายเป็นประเด็นที่น่ากังวลและ
ควรได้รับความสนใจที่จะด้าเนินการเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น งานวิจัยชิ้นนี้หวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการ
สร้างหลักฐานที่สอดคล้องกับทฤษฎีที่เป็นไปตามบริบทเฉพาะของกลุ่มประเทศที่ศึกษา ผ่านการทดสอบทาง
สถิติที่ถูกต้องสมบูรณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการวิจัยในครั้งต่อไป ปัจจัยหลักที่พบว่ามีผลต่อการลดความ
เหลื่อมล้้า คือ ตัวแปรที่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่อัตราการว่างงานที่ลดต่้าจะช่วยลดปัญหา
ความเหลื่อมล้้าด้านรายได้ และส้าหรับประเด็นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจพบว่ามีผลให้เกิดความเหลื่อมล้้า
ที่เพิ่มขึ้นในกรณีรายได้มวลรวมประชาชาติ และส้าหรับรายจ่ายสาธารณะของรัฐบาลก็ส่งผลลบต่อการกระจาย
รายได้สู่กลุ่มคนด้อยโอกาสล่างสุดร้อยละ 10 ทั้งสองประเด็นจึงเป็นสิ่งท้าทายให้กับประเทศรายได้ปานกลาง
ในการผลักดันแนวนโยบายเพื่อจัดการกับปัญหาความเหลื่อมล้้าด้านรายได้ และเลือกวิธีการที่เหมาะสมในการ
กระจายรายได้
นอกจากนี้ประเด็นส้าคัญที่เป็นจุดเด่นและคุณค่าของงานวิจัยชิ้นนี้คือ การสร้างหลักฐานทางทฤษฎี
ถึงความเชื่อมโยงของดัชนีนิติธรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด Good Governance ที่มีต่อการเพิ่มการ
กระจายรายได้ไปยังกลุ่มผู้มีรายได้ต่้าสุดร้อยละ 10 อย่างมีนัยส้าคัญ ท้าให้ตัวแปรว่าด้วยหลักนิติธรรมสมควร
ได้รับการพิจารณาให้เป็นปัจจัยส้าคัญปัจจัยหนึ่งเมื่อมีการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้้าของกลุ่มประเทศ
รายได้ปานกลางในอนาคต ทั้งนี้หลักนิติธรรม หรือความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมายและความเชื่อมั่น
ของประชาชนต่อการใช้อ้านาจตามกฎหมาย เป็นปัญหาส้าคัญของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางทั่วโลก
ซึ่งสอดคล้องทั้งในทางทฤษฎีและในโลกเชิงประจักษ์ ดังนั้นงานวิจัยชิ้นต่อไปควรค้านึงถึงแนวทางการเพิ่มของ
ประสิทธิผลและความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในที่นี้รวมไปถึงการสร้างการเข้าถึงความยุติธรรม
ที่มากขึ้น ในประเด็นหลังนี้ถือเป็นค้านิยามหนึ่งของ “ความเหลื่อมล้้าด้านความยุติธรรม” ซึ่งถือเป็นปัญหา
ที่น่าสนใจและเหมาะสมในการต่อยอดองค์ความรู้อีกด้วย
อุปสรรคส้าคัญที่สุดของงานวิจัยที่พบได้ทั่วไปเมื่อต้องใช้การวิเคราะห์ที่ต้องพึ่งพาข้อมูลแบบ
Secondary Data คือ ความสมบูรณ์ของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานชิ้นนี้ที่มุ่งหวังความถูกต้องสมบูรณ์
ด้วยวิธีการแบบ Panel Data Analysis ที่จ้าเป็นต้องมีข้อมูลแบบ Balance Panel Data ท้าให้ข้อมูล
ที่สมบูรณ์นั้นถูกลดทอนลงไปเป็นจ้านวนมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่งานวิจัยอื่นที่ใช้ระเบียบวิธีแบบเดียวกับ
งานวิจัยชิ้นนี้จะพบกับอุปสรรคและการโจมตีถึงความน่าเชื่อถือของผลการวิจัย อย่างไรก็ตามนับเป็นความ