Page 41 - kpi20896
P. 41
40
crisis to sustainable growth. (World Bank, 1989) ถือเป็นงานวิจัยยุคบุกเบิกซึ่งท้าให้เกิดกระแสการ
ตื่นตัว โดย World Bank ได้เสนอถึงการบริหารประเทศด้วยหลักการที่จะท้าให้ประเทศพัฒนาอย่างยั่งยืน
จนถึงปัจจุบัน World Bank เป็นหน่วยงานสากลที่พยายามอย่างยิ่งที่จะวัดประเมินคุณภาพของการปกครอง
ด้วยหลักการ Governance โดยเชื่อว่าหากการปกครองมีคุณภาพในระดับที่สูงหรือที่เรียกกันว่า Good
Governance จะน้าประเทศไปสู่การพัฒนาอย่างมั่นคงรอบด้าน ซึ่งมีตัวประเมินและเกณฑ์การประเมิน
ด้วยกัน 6 ด้าน คือ
Voice and Accountability (VOICE) เป็นดัชนีที่แสดงให้เห็นว่า ประชาชนสามารถ
มีสิทธิในการเลือกรัฐบาล เสรีภาพในการรับสื่อและการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตย
Political Stability and Absence of Violence/Terrorism (PSAV) เป็นดัชนีแสดง
แนวโน้มการล้มล้างรัฐธรรมนูญของรัฐบาลและการเกิดความไม่สงบและการก่อการร้าย
Government Effectiveness (GovEff) เป็นดัชนีที่แสดงถึงคุณภาพการบริการสาธารณะ
ที่ปราศจากแรงกดดันในทางการเมือง รวมทั้งคุณภาพของกระบวนการนโยบายสาธารณะและความเชื่อถือได้
Regulatory Quality (REG_QE) เป็นดัชนีที่แสดงให้เห็นถึงความรับรู้ถึงความสามารถ
ของรัฐบาลในการผลักดันนโยบายสาธารณะและข้อกฎหมายเพื่อส่งเสริมภาคเอกชนอย่างเป็นธรรม
Rule of Law (ROL) ดัชนีที่บ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นและการรับรู้ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม
กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ต้ารวจและข้าราชการส่วนหน้า รวมถึงศาลในการบังคับใช้กฎหมาย
Control of Corruption (COFC) เป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงพลังภาคประชาชน ในการตรวจสอบ
และเรียกร้องการด้าเนินการต่อต้านการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบของภาคธุรกิจ และการทุจริตระดับชาติ
ของทั้งชนชั้นสูงและรัฐบาล
เมื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดที่ World Bank น้าเสนอจะพบว่า Good Governance ประกอบไป
ด้วยประเด็นใหญ่ที่ต้องการประเมิน 2 ประเด็นหลัก คือ 1) สถาบันทางภาครัฐ รวมไปถึงระบบราชการในการ
ด้าเนินภารกิจของรัฐและการส่งมอบบริการของรัฐ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นมุมมองการบริหารจัดการภาครัฐ
และ 2) ลักษณะที่สอดคล้องกับแนวคิดประชาธิปไตย เช่น สิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักประชาธิปไตย การเลือกตั้ง
การตรวจสอบ ดังนั้นมุมมอง Good Governance ที่ World Bank ได้น้าเสนอคือรัฐที่ก่อให้เกิดการพัฒนา
บนพื้นฐานประชาธิปไตย