Page 37 - kpi20896
P. 37

36



              รัฐที่ถูกสร้างขึ้นด้วยสมมติฐานเบื้องต้นที่ตายตัวและมองข้ามความเคลื่อนไหวของสถาบันทางสังคม หรือ

              เศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิกมีข้อจ้ากัด โดยแสดงหลักฐานจากการด้าเนินธุรกิจที่ผู้ประกอบการมักชอบที่จะ

              ตกลงหรือท้าสัญญากันเองโดยไม่ผ่านตลาด ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่า แม้รัฐจะพยายามสร้างตลาดให้สมบูรณ์

              แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถท้าได้  อีกทั้งยังเสียต้นทุนด้าเนินการไปเป็นจ้านวนมาก ในขณะที่ประเด็น

              จริยธรรมและกรอบของกฎหมายที่เป็นสถาบัน ควรมีหน้าที่ก้าหนดกฎเกณฑ์และกรอบจริยธรรมที่ชัดเจน

              ผลงานชิ้นดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด Good Governance และ Cooperate Governance ในเวลา

              ต่อมานั่นเอง

                             R.H. Coase (1960)  ได้เสนอบทความส้าคัญอีกชิ้นเรื่อง The Problem of Social Cost

              ซึ่งเป้าประสงค์หลักของบทความ คือ การอธิบายผลกระทบภายนอกของการด้าเนินกิจการภาคธุรกิจต่อ

              ภาคส่วนอื่น รวมถึงความพยายามคิดราคาที่แท้จริงอย่างรอบด้านของผลกระทบดังกล่าว แม้บทความจะเป็น

              การพูดถึงฐานคติทั่วไปของผลกระทบภายนอก แต่จุดเน้นส้าคัญที่ท้าให้บทความดังกล่าวที่นับเป็นสารตั้งต้น

              ในงานวิจัยกลุ่มเศรษฐศาสตร์สถาบันใหม่ คือ การเน้นประเด็นสถาบันทางสังคมและกฎหมายที่จะต้องเข้ามา

              มีบทบาทในการก้าหนดราคาและควบคุมผลกระทบดังกล่าว ในช่วงปีดังกล่าว แนวความคิดนี้ถือเป็นเรื่องที่

              น้าสมัยและสร้างแรงบันดาลใจให้กับความก้าวหน้าของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่มิใช่การอ้างอิงเพียง

              แนวปรัชญาและทฤษฎี แต่ยังสามารถท้าให้เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติอีกด้วย ส่งผลให้ Coase ได้รางวัลโนเบล

              และยังได้รับการอ้างอิงจากนักกฎหมายทั่วโลกในการก้าหนดตัวบทกฎหมายและงานชิ้นดังกล่าวยังได้รับการ

              อ้างอิงจนสร้างเป็นแนวคิดกลุ่ม Public Choice ที่ได้รับความนิยมในภายหลังอีกด้วย


                            งานทั้งสองชิ้นเป็นพลังผลักดันที่ส้าคัญให้กับแนวคิดดังกล่าว โดยผู้ที่ท้าให้แนวคิดดังกล่าว

              เกิดความเป็นรูปธรรมและทันสมัยคือลูกศิษย์ของ Coase เอง ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง คือ Oliver

              Williamson ทั้งนี้ ยังเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่า แนวความคิดของเขาน้าไปสู่ Good Governance และ

              Cooperate Governance ที่มีความส้าคัญในโลกปัจจุบันอีกด้วย งานชิ้นส้าคัญของ Williamson ได้แก่

              The Economics of Governance : Framework - and Implications (1984), The Economic Institution

              of Capital (1985) และ The Mechanisms of Governance (1996)  โดยหนังสือสองเล่มหลังเป็นหนังสือ

              ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก


                             O. Williamson (1984)  ในบทความเรื่อง The Economics of Governance: Framework

              - and Implications อาจนับเป็นบุคคลแรกที่กล่าวถึงธรรมาภิบาลซึ่งในขณะนั้น คือ กลไกกลางที่มีลักษณะ

              เป็นนามธรรมที่ท้าหน้าที่ระหว่างตลาดและเอกชนที่ซ่อนอยู่ นั่นคือปัจจัยเชิงสถาบันซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตาม

              สภาพสังคมเศรษฐกิจของประเทศนั้น นั่นคือ การวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจจะต้องรวมเอาประเด็นเชิงสถาบัน
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42