Page 36 - kpi20896
P. 36

35



                               ในขณะที่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญรัฐประศาสนศาสตร์แห่งสหประชาชาติ (Committee of

                 Experts on Public Administration, UN) ได้จัดท้ารายงานเรื่อง Definition of basic concepts and terminologies

                 in governance and public administration (2006) เพื่อสร้างทิศทางและความเข้าใจที่สอดคล้องกันในความหมาย

                 ของ Governance โดยน้าเสนอว่าในทางรัฐประศาสนศาสตร์นั้นความหมายของ Governance มีการพัฒนา

                 มาอย่างต่อเนื่อง เช่น หมายถึงการบริหารขับเคลื่อนรัฐโดยใช้เครือข่ายในมุมมองความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ

                 (Frederickson and Smith, 2003) โดยมุ่งให้มีการลดบทบาทของภาคราชการ ลดสายการบังคับบัญชา

                 ลดการรวมศูนย์อ้านาจ เน้นการสร้างเป้าหมายให้ภาครัฐมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ และสอดคล้องกับการ

                 เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม


                               วิวัฒนาการของกลุ่มแนวคิดที่ส้าคัญเริ่มจากบทความวิจัยชิ้นส้าคัญของ R.H. Coase เรื่อง

                 The Nature of the Firm (1937) และ The Problem of Social Cost (1960) โดยมีเนื้อหาหลักที่แสดง

                 ให้เห็นถึงความไม่สมมาตรของ “ต้นทุนธุรกรรม” ที่ภาครัฐเคยคิดว่ามีค่าเป็นศูนย์เสมอ รวมถึง “สิทธิสภาพ”

                 และ “ผลกระทบภายนอก” ของนโยบายรัฐ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดแนวความคิดที่จะน้าเอาปัจจัยเกี่ยวกับสถาบัน

                 ทางสังคมและกฎระเบียบในสังคมที่จากเดิมไม่นับรวมปัจจัยดังกล่าวว่ามีผลต่อเศรษฐกิจและมุ่งการสร้าง

                 ตลาดให้สมบูรณ์เพียงอย่างเดียว ท้าให้เกิดความแม่นย้าในการท้านายและสร้างแนวนโยบายที่ดี ทั้งนี้ ค้าว่า

                 “New Institutional Economics” ได้รับการกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในฐานะแนวความคิดจาก Oliver

                 Williamson (1975) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ Coase ที่น้าแนวคิดดังกล่าวมาเผยแพร่และขยายความให้มีทิศทาง

                 ที่ชัดเจนนั่นเอง


                               จากความนิยมในแนวคิดส้านัก Keynesian เศรษฐศาสตร์หลังทศวรรษ 1930 ที่ได้ขยายตัว

                 อย่างกว้างขวางทั่วโลก ได้พบกับความท้าทายทฤษฎีและแนวคิดอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์น้้ามันในช่วงปี

                 1960-1970 นักวิชาการจึงแสวงหาหนทางหรือรูปแบบใหม่ในการอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เมื่อ

                 พิจารณาถึงแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ต้องการให้เกิดสภาวะเสรีที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1940 ก่อให้เกิดความ

                 ตื่นตัวในการแสวงหาทางออกให้กับสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและความล้มเหลวของตลาดที่เกิดจากการ

                 พัฒนาที่ไม่ก่อให้เกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ประกอบกับข้อวิพากษ์แนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิมที่มี

                 จุดอ่อนในการอธิบายปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจหลายประการ แนวความคิดเศรษฐศาสตร์สถาบันใหม่จึงเริ่ม

                 มีผู้ให้การยอมรับและพิจารณามากขึ้น ทั้งนี้ งานที่แสดงให้เห็นแนวความคิดอย่างชัดเจน เช่น


                                R.H. Coase (1937) ได้กล่าวโปรยไว้ในงานชิ้นส้าคัญเรื่อง The Nature of the Firm

                 ว่า “economic theory has suffered in the past from a failure to state clearly its assumption”

                 ซึ่งวลีดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นที่ส้าคัญของกลุ่มนักคิดเศรษฐศาสตร์สถาบันใหม่ โดยมีนัยส้าคัญที่แสดงให้เห็นว่า
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41