Page 33 - kpi20896
P. 33
32
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประชาชนทุกคนพอใจ (Gradstein, Milanovic and Ying, 2001) ทั้งนี้
โดยกลไกทางการเมืองจะสามารถวัดความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ส้าคัญ 2 ประการด้วยกัน
ประการแรก กลไกทางการเมืองจะต้องให้โอกาสประชาชนอย่างเสมอภาค ในการแสดงออก
ซึ่งความคิดเห็นและความต้องการของตนอย่างเสรีต่อบทบาทการกระจายรายได้ของรัฐบาล
ประการที่สอง ประชาชนมีความรู้มีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายหรือการด้าเนินการของ
รัฐบาลมากน้อยเพียงใด ซึ่งทั้งสองส่วนหากมีระดับที่สูง ย่อมน้าไปสู่กลไกการเมืองที่สามารถตอบสนองความ
ต้องการและการกระจายรายได้ที่ตรงกับความเป็นจริงและความต้องการของพลเมือง ซึ่งเกิดขึ้นได้ยากในความ
เป็นจริง
ผลจากการทบทวนวรรณกรรมถึงแนวคิดที่น้ามาสู่เหตุผลของรัฐบาลในการเข้ามาจัดสรรการ
กระจายรายได้พบว่ารัฐพยายามกระจายรายได้จากส่วนที่ร่้ารวยมาสู่ส่วนที่ยากจนด้วยนโยบายทางสังคม หรือ
รายจ่ายสาธารณะทางสังคมนั่นเอง ซึ่งการกระจายรายได้ดีขึ้นนั้นรัฐมักใช้วิธีการสนับสนุนกลุ่มด้อยโอกาส
ด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษีหรือแนวนโยบาย
2.1.4 Compensation Theory
ทฤษฎีนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายถึงผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการขยายตัวของรายจ่าย
สาธารณะ โดยมีฐานคติว่ายิ่งประเทศมีอัตราการพึ่งพิง 1) การค้าระหว่างประเทศ 2) การเงินระหว่างประเทศ
มากขึ้น จะยิ่งท้าให้ประเทศต้องลงทุนและมีรายจ่ายสาธารณะด้านสังคม เช่น การศึกษา การสาธารณสุข
ที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันแก่พลเมืองไม่ให้ถูกกระทบจากการแข่งขันและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าวมีความแตกต่างจากแนวคิดการค้าระหว่างประเทศแบบดั้งเดิม ที่เชื่อว่าการค้าและการ
ลงทุนระหว่างประเทศจะพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า นักวิชาการกลุ่มนี้กลับมองว่า การค้าและการลงทุน
ระหว่างประเทศกลับส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้้าและรายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้น เช่น Rodrick (1998), Geoffrey
(2000), Segura – Ulbiergo (2002) ทั้งนี้ แนวความคิดดังกล่าวยังมีผลงานวิจัยยืนยันผลจ้านวนน้อย ผู้เขียน
จึงหยิบยกเพียงบางส่วนที่เห็นผลชัดเจนมาน้าเสนอ คือ
Cameron (1978) ศึกษากลุ่มประเทศ OECD 18 ประเทศระหว่างปี ค.ศ.1960-1975
พบว่าสาเหตุของการขยายตัวของรายจ่ายสาธารณะเกิดขึ้นจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของรายจ่ายด้าน
สวัสดิการสังคมในประเทศเหล่านั้น ซึ่งมีสาเหตุหลายประการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่น
1) การที่ประเทศเหล่านี้ต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศในอัตราที่สูง (Openness of Economy) ท้าให้เมื่อมี