Page 31 - kpi20896
P. 31

30



                         สรุป  ปัจจัยทั้งภายนอกและภายในประเทศสามารถส่งผลต่อการกระจายรายได้ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้

              ปัจจัยด้านโลกาภิวัตน์ได้รับความสนใจมากขึ้นทุกขณะ เพราะเปรียบเสมือนตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดความ

              เหลื่อมล้้า ดังนั้นภาครัฐที่ตื่นตัวจึงพยายามหาทางรับมือกับสภาวะทั่วโลก ในส่วนต่อไปจะกล่าวถึงเหตุผลที่

              ท้าให้รัฐต้องเข้ามามีบทบาทในการจัดการเรื่องการกระจายรายได้ของประเทศ



                     2.1.3 ภาครัฐและเหตุผลในการจัดการการกระจายรายได้และผลประโยชน์

                         จากการทบทวนวรรณกรรมแสดงให้เห็นว่าการกระจายรายได้เป็นดัชนีชี้วัดความเสมอภาคและ

              ความสุขโดยรวมของประเทศได้ในแง่หนึ่ง ซึ่งภาครัฐและแนวนโยบายของภาครัฐเป็นหัวใจส้าคัญในการเพิ่ม

              และลดการกระจายรายได้ของประเทศ ดังนั้นแนวคิดซึ่งเป็นที่มาในการเข้าแทรกแซงและด้าเนินการ สามารถ

              ก้าหนดทิศทางการออกนโยบายที่ใช้จัดการการกระจายรายได้ ซึ่งสามารถจ้าแนกตามหลักทฤษฎีที่รัฐใช้

              เป็นเหตุผลในการด้าเนินการอย่างคร่าวๆ ได้ ดังนี้


                         อรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism) เป็นแนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากนักวิชาการ

              ที่ส้าคัญ 2 ท่าน คือ Bentham และ Mill  โดยเสนอว่ารัฐบาลควรท้าหน้าที่ในการกระจายรายได้ เนื่องจาก

              กฎการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม (Diminishing Marginal Utility) เช่นเมื่อคนมีรายได้เพิ่ม

              มากขึ้นความสุขหรือความพอใจที่ได้รับจากเงินที่เพิ่มขึ้นนั้น จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดน้อยถอยลงหรืออีกนัยหนึ่ง

              คือเงิน 100 บาทที่เพิ่มขึ้นส้าหรับคนจนจะมีความหมายหรือสร้างความพอใจอย่างมากกับคนจน แต่ส้าหรับผู้มี

              รายได้สูงแล้วเงินที่เพิ่มขึ้น 100 บาทอาจมีความหมายหรือสร้างความพึงพอใจน้อยมาก ดังนั้น อรรถประโยชน์

              สูงสุดจึงสามารถเกิดได้ง่ายกว่าในการกระจายรายได้มากขึ้นแก่คนจน


                         ทฤษฎีผลได้สูงสุดของสังคม (The Maximum Social Gain Theory) หลักการส้าคัญคือ

              ในการผลิตสินค้าและบริการใดก็ตาม รัฐบาลควรเลือกด้าเนินการผลิตเฉพาะในกิจกรรมที่น้าประโยชน์มาสู่

              สังคม ซึ่งการจัดสรรรายจ่ายสาธารณะของรัฐบาลยังอาจจะด้าเนินการในรูปของเงินโอน (Transfer Payment)

              ตัวอย่างเช่น รัฐบาลอาจจะโอนเงินจากคนกลุ่มหนึ่ง (โดยการจัดเก็บภาษี) แล้วน้าเงินดังกล่าวไปจัดสรรเป็น

              สวัสดิการสังคมให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งหมายถึงสวัสดิการสังคม (Social Welfare) ที่เพิ่มขึ้นให้กับคนอีกกลุ่ม

              หนึ่งมีรายได้มากขึ้น (หรือมีสินค้าบริการมากขึ้น) เพราะรัฐบาลจัดสรรเงินจ้านวนหนึ่งให้ ดังนั้นการ

              เปรียบเทียบว่าผลจากการกระท้าของรัฐบาลสร้างประโยชน์หรือไม่ ก็ต้องดูว่าผลที่ได้จากการโอนเงินมีมากกว่า

              ผลเสียหรือไม่ และรัฐบาลจะหยุดการโอนเงินเมื่อผลประโยชน์ที่ได้รับเท่ากับผลเสียที่เกิดขึ้น นักวิชาการ

              ที่สนับสนุน เช่น Haveman (1970)  Haveman and Margolis (1977)
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36