Page 26 - kpi20896
P. 26
25
ในอีกประเด็นหนึ่งนั้น นักวิชาการส่วนหนึ่งได้พยายามหาหลักฐานเชิงประจักษ์ของการ
เปิดประเทศทางการเงิน หรือการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างชาติที่มีผลต่อความเหลื่อมล้้า โดยอธิบายว่า
การที่เงินลงทุนส่งผลต่อระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เกิดขึ้นได้จากเมื่อเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้ามา
ในประเทศเป็นการเพิ่มโอกาสในการพัฒนาประเทศ ด้วยทรัพยากรและเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า นอกจากนี้
การไหลเข้าของการลงทุนย่อมเป็นการสร้างงานในประเทศและลดอัตราว่างงานภายในประเทศอีกด้วย
(Barrell and Pain, 1997) และในกรณีที่เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับประเทศที่เงินทุนไหลเข้ามานั้น
มักจะมีลักษณะเป็นการถ่ายทอดผ่านการฝึกอบรมซึ่งถือเป็นการเพิ่มทุนมนุษย์ในประเทศเหล่านั้นอีกด้วย
(Blomström and Kokko, 2003) อย่างไรก็ตามทุนมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่สามารถน้าไปค้านวณรวมกับระดับ
การศึกษาในภาพรวมของประเทศนั้นได้ เนื่องจากขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าปัจจัยทั้งสองมีความสัมพันธ์
เกี่ยวข้องกันอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ
นอกจากนี้ปัจจัยที่มีผลโดยตรงในระยะสั้นต่อความเหลื่อมล้้าทางรายได้นั้น นักวิชาการ
ให้ความสนใจที่จะศึกษาอัตราการว่างงานในประเทศว่ามีผลต่อระดับความเหลื่อมล้้าทางรายได้อย่างไร
ซึ่งอธิบายในเชิงทฤษฎีได้ว่า เมื่ออัตราการว่างงานเกิดขึ้น คนที่มีฐานะยากจนจะได้รับผลกระทบสูงกว่าในการ
เสียงานของตนไป เนื่องจากไม่มีเงินส้ารองและสวัสดิการอื่น ดังนั้นเมื่อระดับการว่างงานสูงขึ้นย่อมก่อให้เกิด
ความเหลื่อมล้้าที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดีผลดังกล่าวไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การดูในระดับกลุ่มรายได้น้อยและปานกลาง จึงไม่สามารถสรุปได้ทั้งหมดว่าปัจจัยอัตราการว่างงานมีผล
โดยตรงในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางหรือไม่ งานวิจัยชิ้นนี้จึงพยายามน้าเอาตัวแปรดังกล่าวเข้าสู่
แบบจ้าลองด้วยหลักการพื้นฐานที่ได้กล่าวถึงข้างต้น (Gustafsson and Johansson, 1997; Parker, 1999;
Nielsen and Alderson, 1997)
คล้ายคลึงกับการลงทุนจากต่างชาติ ประเด็นการค้าระหว่างประเทศได้รับความสนใจในฐานะ
ตัวเร่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งนักวิชาการพบผลค่อนข้างชัดเจนว่า ระดับการค้าระหว่างประเทศนั้น มีผล
เชิงบวกต่อความเหลื่อมล้้าด้านรายได้ในประเทศที่ก้าลังพัฒนา และให้ผลตรงกันข้าม กล่าวคือ ท้าให้ความ
เหลื่อมล้้าลดลงในประเทศที่พัฒนาแล้ว นั่นคือ ส้าหรับประเทศที่ก้าลังพัฒนาที่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มรายได้
ปานกลางนั้น ยิ่งส่งออกสินค้าและการบริการมากขึ้นเท่าไร ก็มีโอกาสท้าให้เกิดความเหลื่อมล้้ามากขึ้น
(Gustafsson and Johansson, 1997; Xu and Zou, 2000) จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการทดสอบ
แบบจ้าลอง เนื่องจากกลุ่มประเทศที่ก้าลังพัฒนาที่ส่วนใหญ่มีรายได้ปานกลางนั้น ต่างพึ่งพิงการค้าระหว่าง
ประเทศและการลงทุนจากต่างชาติเป็นกลไกหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศของตน การเฝ้าระวังหาก