Page 25 - kpi20896
P. 25

24



              สมการก้าลังสอง และอาจพบว่าการมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตมีความสัมพันธ์กับอัตราการว่างงาน

              ซึ่งมีผลโดยตรงต่อความเหลื่อมล้้าด้านรายได้อีกด้วย (Eriksson, 1997; Boix, 2001)


                             สัดส่วนรายจ่ายของรัฐบาล และนโยบายโครงสร้างภาษี  โดยธรรมชาติของการเก็บภาษี

              หากเกิดภาระภาษีเท่ากันในหลายกลุ่มชั้น ผู้ที่มีฐานะต่้ากว่าย่อมมีความเสียเปรียบ ทั้งนี้จากการศึกษางานวิจัย

              หลายชิ้นพบว่า ภาษีในประเทศไทยนั้น ภาษีทางตรงมีลักษณะก้าวหน้า และภาษีทางอ้อมมีลักษณะถดถอย

              ในขณะที่ประเทศไทยพึ่งพิงภาษีทางอ้อมเป็นรายได้หลัก ภาระจึงตกแก่ผู้ที่มีรายได้ต่้า ดังนั้นการกระจาย

              รายได้จึงแย่ลงในประเทศไทยด้วยโครงสร้างนโยบายภาษี (Medhi 1975, 1979, 1980)


                            นอกจากนี้รายงานหลายฉบับได้เชื่อมโยงหลักฐานเชิงประจักษ์ ถึงความสัมพันธ์ของระดับการ

              พัฒนาทางเศรษฐกิจกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาล เช่น สัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมต่อรายได้ประชาชาติ

              ยิ่งมากขึ้นเพียงใด ก็จะยิ่งเพิ่มสัดส่วนของรายจ่ายภาครัฐบาลต่อรายได้ประชาชาติมากขึ้นเพียงนั้น กล่าวคือ

              ยิ่งเศรษฐกิจขยายตัว ภาครัฐก็ยิ่งมีภาระใช้จ่ายมากขึ้นในการดูแลคนในประเทศ (Berry and Lowery, 1984)

              รวมถึงการพบความสัมพันธ์ของสัดส่วนของภาคการเกษตรกรรมกับรายจ่ายของรัฐบาล โดยพบว่าหากประเทศ

              มีสัดส่วนภาคเกษตรกรรมมากขึ้น รายจ่ายของรัฐบาล โดยเฉพาะรายจ่ายด้านสาธารณสุขจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น

              รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นในการดูแลประชาชนในเขตเมือง (Boix, 2001; Cameron ,1978)


                             ตัวบ่งชี้เชิงเศรษฐศาสตร์มหภาค  ปัจจัยกลุ่มหนึ่งที่ได้รับความสนใจ และนิยมน้ามาใช้

              หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลที่มีต่อระดับความเหลื่อมล้้าทางรายได้ของประเทศ คือ ตัวแปรที่เป็นตัวบ่งชี้ทาง

              เศรษฐกิจของประเทศ เช่น อัตราเงินเฟ้อมีผลต่อการชะลอการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีผลต่อความ

              เหลื่อมล้้าทางรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งผลกระทบทางลบต่อผู้มีฐานะยากจน (Gustafsson and

              Johansson, 1997; Parker, 1999; Xu and Zou, 2000; Cornia and Kiiski, 2001) อย่างไรก็ดีผลดังกล่าว

              ขึ้นอยู่กับโครงสร้างการผลิตในประเทศนั้น ว่ามีอัตราการพึ่งพิงมากน้อยเพียงใด หรือหมายถึงเงินเฟ้อ

              เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการน้าเข้าและส่งออกที่มีผลกระทบต่อประเทศ รวมไปถึงการลงทุนและไหลเข้า

              ของเงินตราต่างประเทศ (Bruno and Easterly, 1996; Lundberg and Squire, 2003) นอกจากนี้ยังพบ

              อีกว่าสัดส่วนต่อรายได้ประชาชาติของภาคเอกชน มีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และส่งผลต่อเนื่อง

              ไปยังความเหลื่อมล้้าในประเทศ (Gillman, Harris and Matyas, 2001) ปรากฎการณ์ดังกล่าวส่งผลทางอ้อม

              มายังความเหลื่อมล้้า ด้วยการใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา ดังนั้นจึงมักพบว่าเมื่อสัดส่วนการ

              เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากภาคธุรกิจมากขึ้น รายจ่ายภาครัฐบาลจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเพื่อรักษา

              เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการแก้ปัญหาสังคมเสมอ (Cameron, 1978; Berry and Lowery, 1984;

              Rodrick, 1998; Boix, 2001)
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30