Page 21 - kpi20896
P. 21
20
2.1.1.2 ความส้าคัญของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง
กลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง เป็นกลุ่มประเทศที่มีสภาพบริบทที่ท้าทายต่อการพัฒนาทาง
เศรษฐกิจมากที่สุด เนื่องจากกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางส่วนใหญ่ มักจะเป็นประเทศที่ผ่านการพัฒนาทาง
เศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดในช่วงที่ประเทศยังอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ต่้า ขึ้นมาสู่ประเทศรายได้ปานกลาง
จนถึงรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ในประเทศ
เหล่านี้ กลับไม่มีศักยภาพพอที่จะพัฒนาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ขึ้นไปสู่ระดับรายได้สูงหรือที่เรียกกัน
ว่า "กับดักรายได้ปานกลาง” ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ติดกับดักรายได้ปานกลางไม่น้อยกว่า 40 ปี
จนถึงปัจจุบัน ความท้าทายในการหาปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนจึงมีความส้าคัญ
อย่างยิ่ง โดยเฉพาะโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศที่มักพบว่า “ประเทศในกลุ่มรายได้ปานกลางมักเป็น
ประเทศที่มีความเหลื่อมล้้าอันเนื่องมาจากผลการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด” ซึ่งถือเป็น
อุปสรรคส้าคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตได้ในระยะยาว
ความเหลื่อมล้้าด้านรายได้ เป็นปัญหาที่มีสาเหตุประการหนึ่งมาจากระดับการพัฒนา
เศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ท้าให้ช่องว่างแต่เดิมของคนที่มีฐานะร่้ารวยและผู้มีฐานะยากจนในประเทศ มีความ
ห่างเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรการผลิต ลักษณะทุนทางสังคมและทุนมนุษย์
ที่ผู้มีรายได้สูงมีเหนือกว่าผู้มีรายได้ต่้า นอกจากนี้ความเหลื่อมล้้าของรายได้ที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจ
อย่างไม่สมดุลอาจอธิบายได้ว่า ในระยะแรกของการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน
ที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีที่ต่้า ค่าแรงถูก จากภาคเกษตรไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้
ผลิตเป็นเพียงเทคโนโลยีการผลิตระดับต้นถึงระดับกลางเท่านั้น ในขณะที่เทคโนโลยีระดับสูงจ้าเป็นต้องพึ่งพิง
หรือซื้อมาจากประเทศที่มีระดับเทคโนโลยีที่สูงกว่า ขาดการเรียนรู้และไม่ได้คิดค้นขึ้นมาเอง ท้าให้ระดับการ
พัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงที่สอดคล้องและใช้ได้ในบริบทของตนจึงไม่เกิดขึ้น ปรากฎการณ์ดังกล่าวท้าให้
ผู้ที่เข้าถึงเทคโนโลยีที่สูงกว่าซึ่งมักจะเป็นผู้ที่มีรายได้สูงก็จะได้เปรียบและเพิ่มรายได้ของตนอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่ผู้มีรายได้ต่้าก็จะยิ่งมีอุปสรรคในการสร้างฐานะของตนเอง ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่พบเห็นได้ทั่วไป
ในกลุ่มประเทศที่อยู๋ในกลุ่มรายได้ปานกลางทั่วโลก
จากเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นที่มาว่าท้าไมจึงควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเหลื่อมล้้า
ในประเทศรายได้ปานกลาง เพราะนอกจากจะสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์ที่น้าไปสู่การพัฒนาข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบาย ยังเป็นการสร้างหลักฐานที่น้าไปสู่ทิศทางการพัฒนาที่เหมาะสมส้าหรับประเทศที่มีรายได้ต่้า
ในอนาคตอีกด้วย