Page 18 - kpi20896
P. 18
17
บทที่ 2
การทบทวนวรรณกรรม
2.1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการกระจายผลประโยชน์ของกลุ่มประเทศที่มีรายได้
ปานกลางทั่วโลกนั้น จ้าเป็นต้องเข้าใจในบริบทดังต่อไปนี้
2.1.1 การกระจายรายได้และการวัดการกระจายรายได้
แนวคิดเกี่ยวกับการกระจายรายได้และความเหมาะสมของสภาพความเหลื่อมล้้าในสังคม
เป็นประเด็นที่มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอถึงสัดส่วนที่เหมาะสมมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้ตามหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์ที่สามารถสืบค้นได้ พบข้อถกเถียงที่มีอายุราว 300-400 ปีก่อนคริสตกาลของ Plato ที่ได้เสนอ
ความเห็นในงานชิ้นส้าคัญอย่าง Republic ไว้ว่า “ในสังคมอุดมคตินั้น รายได้ของคนที่รวยที่สุดในสังคม ไม่ควร
มีสัดส่วนรายได้ที่เกินกว่าสี่เท่าของคนที่ยากจนที่สุด” หรือในต้นยุคสมัยใหม่ Adam Smith (1776) ได้เสนอว่า
“สังคมใดที่คนส่วนใหญ่ยากจนและมีความทุกข์ สังคมนั้นไม่อาจจะเป็นสังคมที่รุ่งเรืองและมีความสุขได้”
จนกระทั่งในยุคปัจจุบันแนวความคิดการวัดการกระจายรายได้นั้นได้รับความสนใจและมีข้อคิดเห็น
ที่หลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เมื่อสืบค้นนักวิชาการร่วมสมัย ต่างได้พยายามเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับ
การกระจายรายได้ ซึ่งสามารถแบ่งแนวทางการศึกษาได้อย่างน้อย 2 แนวทางคือ
1) มุ่งศึกษาการกระจายรายได้ ตามปัจจัยการผลิตหรือหน้าที่ในการผลิต (Functional or
Factor Share Distribution Income) ซึ่งหมายถึง การที่รายได้ประชาชาติถูกแบ่งปันกันระหว่างเจ้าของ
ปัจจัยการผลิตในรูปของค่าจ้างเงินเดือนของแรงงาน ค่าเช่าของชนชั้นเจ้าของที่ดิน ก้าไรของชนชั้นนายทุน
และผู้ประกอบการ รวมไปถึงรายได้ในรูปดอกเบี้ยของผู้ให้กู้ยืมเงิน ซึ่งการศึกษาตามแนวทางความหมาย
ดังกล่าวสามารถท้าได้โดยการเปรียบเทียบจากความเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตของกลุ่มในสังคม ว่ามีความ
เหลื่อมล้้าในการครอบครองทรัพยากรการผลิตแตกต่างกันเพียงใด โดยวัดจากการถือครองกรรมสิทธิ์จากกลุ่ม
ที่ถือครองปัจจัยการผลิตไว้มากที่สุดต่อกลุ่มที่ถือครองกรรมสิทธิ์ลดหลั่นกันลงมา
การวัดการกระจายรายได้ตามแนวทางดังกล่าว จะต้องท้าการก้าหนดกลุ่มที่ครอบครองปัจจัย
การผลิตตามลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จากนั้นจึงเปรียบเทียบสัดส่วนการครอบครองปัจจัยการผลิต
ของกลุ่มที่ถือครองกรรมสิทธิ์แตกต่างกัน เช่นในประเทศก้าลังพัฒนาที่คนส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรม
การวัดการกระจายรายได้ก็อาจท้าได้โดยการเปรียบเทียบสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมนอกภาคเกษตรกรรม
ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรกรรม หากสัดส่วนดังกล่าวมีค่าสูงหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมนอกภาค