Page 15 - kpi20896
P. 15
14
ปัญหาความเหลื่อมล้้าทางรายได้จะส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว น้าไปสู่ความเหลื่อมล้้า
ที่เกิดขึ้นในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางที่ประสบกับปัญหาการไม่สามารถพัฒนา
เศรษฐกิจให้ก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง หรือที่เรียกกันว่า “การติดกับดักรายได้ปานกลาง” ที่พบเห็น
ได้ทั่วไปในกลุ่มประเทศก้าลังพัฒนา (Berg, Ostry, and Zettelmeyer, 2012; Easterly 2002; Bruno,
Ravallion and Squire, 1996; Alesina and Rodrik, 1994) ซึ่งเป็นความท้าทายในการพัฒนาประเทศอย่าง
มาก ประเทศเหล่านี้ก้าวกระโดดจากประเทศมีรายได้ต่้ามาสู่รายได้ปานกลาง แต่ไม่สามารถก้าวไปสู่ประเทศ
ที่มีรายได้สูง จากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างผิดรูปในช่วงการเติบโตที่รวดเร็วเกินไป ก่อให้เกิดการ
กระจุกตัวของความเจริญและทิศทางการพัฒนาที่ไม่สามารถเพิ่มขีดความสามารถให้ทั่วถึงได้ทั้งประเทศ
ทั้งนี้ปัญหาการกระจายผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม เข้าข่ายเป็นปัญหาสาธารณะซึ่งรัฐบาล
จ้าเป็นต้องเข้าไปมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาโดยใช้มาตรการและเครื่องมือต่างๆ ในการแทรกแซงและจัดสรร
ทรัพยากรเสียใหม่เพื่อลดความเหลื่อมล้้าที่เกิดขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรมพบผลการศึกษาส้าคัญที่ยืนยัน
ถึงผลของการกระจายผลประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรมสามารถส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้้าทางรายได้หรือการ
กระจายรายได้ที่แย่ลง (จรินทร์ เทศวานิช, 2523, เอนก เธียรถาวร 2520, Medhi 1975, 1979, 1980;
Brueckner, M., E. Dabla Norris, M. Gradstein, 2015) การวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการกระจายผลประโยชน์
จึงท้าให้เกิดประโยชน์เชิงนโยบายในการน้าข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยไปใช้ในการปรับปรุงหรือเร่งการกระจาย
รายได้ในสังคมให้เป็นธรรมมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้้า นอกจากจะท้าให้เกิด
แนวทางในการพัฒนาหรือสร้างแนวนโยบายให้แก่กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางที่ประสบปัญหาการติดกับดัก
รายได้ปานกลางดังเช่นประเทศไทยและประเทศอื่นทั่วโลกแล้ว ยังเป็นการสร้างแนวทางเชิงทฤษฎีให้กับ
กลุ่มประเทศก้าลังพัฒนาในอนาคตอีกด้วย
ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เกิดระดับการพัฒนาที่ได้ดุลนั้น หลักการส้าคัญที่เป็นแนวทาง
การด้าเนินงานภาครัฐทั่วโลก คือ Good Governance หรือ ธรรมาภิบาล ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่มีความเป็นไปได้
ในเชิงแนวคิดว่ามีส่วนก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมเชิงสถาบันที่เอื้อให้เกิดการพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาทาง
เศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระดับสากล อย่างไรก็ดีหลักฐานว่าการที่รัฐมีระดับธรรมาภิบาลที่สูงหรือต่้านั้น จะท้าให้
รัฐดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร ยังไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้เนื่องจากขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ผ่านการทดสอบอย่าง
ถูกต้องตามระเบียบวิธี ดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้ยังบรรจุสิ่งส้าคัญที่จะเป็นคุณค่าทางวิชาการคือ การหาหลักฐาน
เชิงประจักษ์ของหลักการธรรมภิบาลที่อาจมีต่อผลการกระจายรายได้ รวมไปถึงความสัมพันธ์ต่อตัวแปรอื่น
อีกด้วย ซึ่งผลที่ได้ในการศึกษาธรรมาภิบาลดังกล่าว นอกจากจะท้าให้เกิดความเข้าใจกระบวนการหรือ
หลักการมากขึ้น ยังเป็นงานที่สร้างหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อน้าร่องการศึกษาในอนาคตอีกด้วย