Page 14 - kpi20896
P. 14

13



                                                           บทที่ 1

                                                           บทน้า



                 1.1 ที่มาและความส้าคัญ

                        ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจนับเป็นเป้าหมายส้าคัญในการพัฒนาประเทศของรัฐบาลทั่วโลก

                 ซึ่งปัจจัยส้าคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ดังเช่นรายได้ต่อหัวที่เพิ่มขึ้น การสะสมทุน และก้าลัง

                 แรงงาน จึงเป็นตัวชี้วัดส้าคัญที่รัฐบาลพยายามผลักดันแนวทางนโยบายให้เกิดขึ้น อย่างไรก็ดีในการพัฒนา

                 เศรษฐกิจของประเทศนั้นจ้าเป็นต้องมีระดับการพัฒนาที่สมดุล ซึ่งประเด็นความมีเสถียรภาพในการพัฒนา

                 เป็นตัวชี้วัดส้าคัญที่ทั่วโลกยอมรับว่าก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่

                 เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแค่เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถสะท้อนความอยู่ดีกินดีของพลเมือง

                 ออกมาได้  ดังนั้นการพัฒนาที่ไม่ได้ค้านึงถึงความเหลื่อมล้้าทางรายได้ของประชาชน จึงมักได้รับการกล่าวถึง

                 ในฐานะแนวทางการด้าเนินงานของรัฐที่ไม่ได้ค้านึงถึงพลเมืองของตนอย่างแท้จริง การศึกษาเพื่อหาปัจจัยที่มี

                 ผลต่อการกระจายรายได้จึงมีความส้าคัญเพื่อช่วยให้เกิดแนวนโยบายที่สมดุลทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและความ

                 เท่าเทียมกันในโอกาสของพลเมือง


                        ปรากฏการณ์ส้าคัญที่พบเห็นได้ในประเทศก้าลังพัฒนาทั่วโลกที่เป็นข้อบ่งชี้ถึงปัญหาที่เกิดจาก

                 รายจ่ายสาธารณะ คือปัญหาความเหลื่อมล้้าในการกระจายผลประโยชน์ ซึ่งรายจ่ายสาธารณะด้านสังคม

                 มักพบว่าเกิดปัญหาในการกระจายผลประโยชน์ไปยังกลุ่มต่างๆ ในสังคมอย่างไม่เท่าเทียมหรือผิดเป้าหมาย

                 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางที่มีสัดส่วนความเหลื่อมล้้าสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ (Lustig, 2015)

                 ดังนั้นการวิเคราะห์ผลประโยชน์จากรายจ่ายสาธารณะจึงมีความส้าคัญ ทั้งนี้ความเหลื่อมล้้าและการกระจาย

                 รายได้ที่ไม่เป็นธรรมในสังคม มีหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุ เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ (Berg, Ostry, and

                 Zettelmeyer, 2012; Easterly 2002; Bruno, Ravallion and Squire, 1996; Alesina and Rodrik, 1994)

                 ความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรที่แตกต่างกัน (Eriksson, 1997; Boix, 2001; Dabla Norris, et. al,

                 2015; Easterly, 2007) ปัจจัยทางสังคม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และฐานะทางสังคมที่แตกต่างกันท้าให้

                 บุคคลแต่ละคนมีโอกาสทางสังคมที่แตกต่างกัน (Schultz, 1994; Temple, 2000; Stijns, 2001; Boix, 2001)

                 รวมถึงปัจจัยภายนอกที่ส้าคัญ เช่น โลกาภิวัตน์ (Cameron, 1978; Stewart, 1999) ปัจจัยที่แตกต่างกัน

                 เหล่านี้เป็นสิ่งที่ท้าให้เกิดความแตกต่างของกลุ่มประชาชน ซึ่งส่งผลต่อขีดความสามารถในการด้าเนินชีวิตของ

                 ประชากร น้าไปสู่การกระจายรายได้ที่แตกต่างกันจนท้าให้เกิดความเหลื่อมล้้าและไม่เป็นธรรมในท้ายที่สุด

                 ทั้งนี้ประเด็นที่ส้าคัญที่สุดที่นักวิชาการที่มุ่งศึกษาผลกระทบจากความเหลื่อมล้้าต่างมีความเห็นร่วมกัน คือ
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19