Page 19 - kpi20896
P. 19
18
เกษตรกรรมมีค่ามาก ย่อมแสดงให้เห็นว่าการกระจายรายไปยังภาคการเกษตรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของ
ประเทศมีสัดส่วนรายได้ที่น้อยกว่าคนที่อยู่นอกภาคการเกษตรซึ่งเป็นคนส่วนน้อยของประเทศ หรือหมายถึง
การกระจายมีลักษณะที่ไม่เท่าเทียมกันนั่นเอง
2) การวัดการกระจายรายได้ตามชั้นของรายได้หรือขนาดของรายได้ (Personal or Size
Distribution Income) ซึ่งเป็นแนวทางที่ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นการวัดจ้านวนรายได้ตามปริมาณ
ที่เกิดขึ้นจริงโดยสามารถอธิบายได้ว่า เริ่มต้นด้วยการแบ่งจ้านวนผู้มีรายได้ออกเป็นกลุ่มรายได้เรียงตามขนาด
ของรายได้เป็นช่วงตามล้าดับมากไปหาน้อยหรือน้อยไปหามาก แล้วจึงหาสัดส่วนของผู้มีรายได้ตามช่วงชั้น
ต่างๆ การน้าเสนอในรูปแบบนี้เป็นการแสดงถึงรายได้รวมทั้งหมดที่บุคคลได้รับ ไม่ว่ารายได้นั้นจะมีแหล่งที่มา
จากค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย หรือก้าไร และไม่ว่ารายได้นั้นจะมาจากแหล่งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม
หรืออื่นๆ ก็ตาม สิ่งส้าคัญในการน้าเสนอการกระจายรายได้ในรูปแบบนี้คือ ต้องการที่จะให้ทราบว่าแต่ละ
บุคคลได้รับรายได้มากน้อยแตกต่างกันเพียงไร เป็นการแสดงให้เห็นว่าความเหลื่อมล้้าของฐานะทางเศรษฐกิจ
และสังคมของประชากร เพื่อวิเคราะห์ต่อไปถึงต้นเหตุของความเหลื่อมล้้าและลดความเหลื่อมล้้าให้น้อยลง
เช่น การวิเคราะห์ภาระภาษี
2.1.1.1 การวัดการกระจายรายได้ด้วยหลักการเส้นโค้งลอเร็นซ์ (Lorenz Curve) และค่า
สัมประสิทธิ์ความเหลื่อมล้้า (Gini Coefficients)
การศึกษาในครั้งนี้มุ่งเน้นการอธิบายการกระจายรายได้ด้วยวิธีการตามแนวทางที่ 2 ที่
หมายถึงการจัดกลุ่มรายได้และระดับรายได้ของกลุ่มที่แตกต่าง จากนั้นจึงหาสัดส่วนของประชากรแต่ละกลุ่ม
ซึ่งสามารถท้าได้หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือการวัดการกระจายรายได้โดยใช้เส้นโค้งของ
ลอเร็นซ์ (Lorenz Curve) ซึ่งเป็นการสร้างกราฟทางคณิตศาสตร์จากชุดข้อมูล 2 ตัวแปร เพื่อแสดงความ
สม่้าเสมอ ที่หมายถึงความสอดคล้องของการกระจายตัวในพื้นที่ (Areal Distribution) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย
Max O. Lorenz ในปี 1905 เพื่อสร้างรูปแบบการวัดการกระจายตัวของความมั่งคั่ง ดังภาพ
ภาพ 2.1 การวัดการกระจายรายได้โดยใช้เส้นโค้งของลอเร็นซ์ (Lorenz Curve)
ที่มา : http://www.bized.co.uk/virtual/dc/farming/theory/th9.htm