Page 20 - kpi20896
P. 20

19



                               จากแผนภาพเส้นตรงที่ลากจากจุดก้าเนิดเป็นมุม 45 องศาเรียกว่าเส้นความเท่าเทียมกัน

                 สมบูรณ์ (Egalitarian Line) ซึ่งเป็นเส้นที่เปอร์เซ็นต์สะสมของจ้านวนครัวเรือนกับเปอร์เซ็นต์สะสมของรายได้

                 จะมีค่าเท่ากัน  ในขณะที่การกระจายรายได้จริงจะเป็นเส้นโค้งที่ห่างออกมาจากเส้นความเท่าเทียมกันสมบูรณ์

                 ดังนั้นภาพข้างต้นย่อมหมายความว่าครัวเรือนร้อยละ 50 แรกจะมีส่วนแบ่งของรายได้เพียงร้อยละ 20 ด้วยวิธี

                 ดังกล่าวหากเส้นโค้งลอเร็นซ์ห่างออกจากเส้นความเท่าเทียมกันสมบูรณ์มากเท่าไรความไม่เป็นธรรมในการ

                 กระจายรายได้จะยิ่งมากขึ้นติดตามกันไป ในขณะที่ถ้าหากมีความเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์แล้ว เส้นโค้งจะทับ

                 กับเส้นสมมติที่ 45 องศานั่นเอง


                               จากแนวคิดข้างต้นน้าไปสู่การวัดค่าสัมประสิทธิ์ GINI (Gini Coefficients) ที่พัฒนาโดย

                 นักวิชาการชาวอิตาลี Corrado Gini ในปี 1912 เป็นค่าค้านวณเพื่อใช้วัดการกระจายรายได้ ทั้งนี้การค้านวณ

                 ค่าสัมประสิทธิ์ความเหลื่อมล้้าของ GINI (Gini Coefficients) เริ่มจากการเรียงล้าดับครอบครัวประชากร

                 ตามรายได้ที่ได้รับจากน้อยไปมาก แล้วท้าการแบ่งกลุ่มตามล้าดับที่ของครัวเรือน จากนั้นก็น้ามาหาค่าร้อยละ

                 ของความถี่สะสมทั้งทางด้านจ้านวนครัวเรือน ประชากร และรายได้ เมื่อได้ค่าร้อยละของความถี่สะสมของ

                 ทั้งจ้านวนครัวเรือน ประชากร และรายได้แล้ว  จากนั้นก้าหนดให้พื้นที่ระหว่างเส้นความเท่าเทียมกันสมบูรณ์

                 (เส้น 45 องศา) กับเส้นโค้งลอเร็นซ์เป็น A และพื้นที่ใต้เส้นโค้งลอเร็นซ์เป็น B ค่าสัมประสิทธิ์ GINI จะเท่ากับ

                 A/(A+B)


                               ดังนั้น ถ้าพื้นที่ระหว่างเส้นความเท่าเทียมกันสมบูรณ์กับเส้นโค้งลอเร็นซ์มีมากค่าสัมประสิทธิ์

                 GINI ก็จะมีค่ามาก (เข้าใกล้ 1) ด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้าหากค่าสัมประสิทธิ์ GINI มีค่าสูงย่อมหมายความถึงการกระจาย

                 รายได้ที่ไม่เป็นธรรมมาก ในทางกลับกันถ้าค่าสัมประสิทธิ์ GINI มีค่าน้อย (เข้าใกล้ 0) การกระจายรายได้ก็จะ

                 มีความเท่าเทียมกันสูงนั่นเอง

                               ข้อดีส้าคัญของการใช้สัมประสิทธิ์ความเหลื่อมล้้า GINI คือเป็นเครื่องมือที่ประยุกต์ใช้ได้ง่าย

                 เนื่องจากเป็นค่าค้านวณที่ไม่ยากมากนัก อีกทั้งเหมาะกับการอนุมานเชิงพื้นที่ท้าให้เห็นปรากฎการณ์ในภาพรวม

                 อย่างไรก็ตามจากข้อดีดังกล่าวท้าให้การใช้เส้นโค้งลอเร็นซ์และสัมประสิทธิ์ความเหลื่อมล้้า GINI มีข้อจ้ากัด

                 ส้าคัญ คือ แม้เป็นชุดข้อมูลเดียวกัน แต่ถ้าหากแบ่งสัดส่วนแตกต่างกัน อาทิ แบ่งเป็น 10 ส่วน เปรียบเทียบกับ


                 แบ่งเป็น 4 ส่วน รูปร่างของเส้นโค้งจะมีลักษณะไม่เหมือนกัน ดังนั้นการเปรียบเทียบใดๆ จ้าเป็นจะต้องใช้การ
                 แบ่งที่เท่ากันเสมอ งานวิจัยชิ้นนี้จึงอาศัยฐานข้อมูลที่มีการเก็บค่า GINI ที่มีความสม่้าเสมอจากประเทศรายได้


                 ปานกลางทั่วโลกของธนาคารโลก เป็นตัวแปรหลักในการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ให้ชุดข้อมูลมีความ
                 สม่้าเสมอและเท่ากันในทุกประเทศ
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25