Page 23 - kpi20896
P. 23

22



                            นอกจากนี้เมื่อแบ่งกลุ่มประเทศตามระดับรายได้พบว่าประเทศกลุ่มที่มีรายได้ต่้านั้น มีระดับ

              การเพิ่มขึ้นของรายได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีของระดับการพัฒนาที่ก้าวกระโดด โดยในปี

              2000 มีค่า Gini อยู่ที่ 0.316  เพิ่มเป็น 0.320 ในปี 2005 และ 0.323 ในปี 2010  อย่างไรก็ตามค่าความ

              เหลื่อมล้้านั้นเมื่อแบ่งตามระดับรายได้พบว่า “กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางเป็นกลุ่มประเทศที่มีค่าความ

              เหลื่อมล ้าสูงสุด” ซึ่งถึงแม้จะมีแนวโน้มการลดลงของความเหลื่อมล้้าด้านรายได้ (0.431 ในปี 2000

              เปลี่ยนเป็น 0.423 ในปี 2005 และ 0.413 ในปี 2010) แต่ก็ยังเป็นกลุ่มประเทศที่มีความเหลื่อมล้้าสูงที่สุด

              จึงน่าสนใจในการหาแนวทางลดความเหลื่อมล้้า เพื่อการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนในการเติบโตทางเศรษฐกิจ

              ของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางให้พ้นจากกับดักรายได้ปานกลางนั่นเอง


                     2.1.2 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมในการกระจายรายได้

                         จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า ทฤษฎีจ้านวนมากพยายามอธิบายสาเหตุที่ท้าให้สังคมเกิด


              ความเหลื่อมล้้าด้วยหลากหลายวิธีการ อย่างไรก็ตาม สามารถจัดกลุ่มให้กับปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้้า
              ได้เป็น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ  ปัจจัยทางการเมือง  ปัจจัยทางสังคม และ ปัจจัยด้านโลกาภิวัตน์ ซึ่งสามารถเสนอ


              ได้ดังนี้

                         2.1.2.1 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ  จากผลการศึกษาจ้านวนมาก ยืนยันว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็น

              สาเหตุหลักที่ท้าให้เกิดช่องว่างระหว่างรายได้และความไม่เท่าเทียม ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการกระจายรายได้

              ซึ่งมีแนวทางการอธิบายในหัวข้อที่เกี่ยวข้องดังนี้


                             การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ  นักวิชาการในกลุ่มนี้เชื่อว่า ในระยะแรกการพัฒนา

              ประเทศจะท้าให้เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยสังเกตได้จากรายได้ประชาชาติที่เพิ่มขึ้น

              อย่างไรก็ตามในภาคส่วนที่ไม่มีความพร้อมจะเกิดการกระจายรายได้ของบุคคลและครอบครัวแย่ลง ส่งผลให้

              เมื่อเศรษฐกิจเจริญถึงระดับหนึ่งที่ค่อนข้างนิ่งแล้ว ผลพวงของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วเกินไป


              จะกระจุกตัวในกลุ่มคนที่มีฐานะร่้ารวย ซึ่งในท้ายที่สุดจะแผ่กระจายไปยังคนกลุ่มอื่นในสังคมต่อไป (Trickle
              Down Effect) นั่นคือท้ายที่สุดการกระจายรายได้ก็จะดีขึ้นตามล้าดับ โดยความสัมพันธ์ระหว่างความ


              เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ที่มีลักษณะเป็นรูประฆังคว่้า (Inverted U Shape) นักวิชาการ
              กลุ่มนี้ เช่น Simon Kuznets (1978), เมธี ครองแก้ว และ ปราณี ทินกร (2528) เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบอีกว่า


              การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในประเทศที่มีระดับรายได้และระดับการพัฒนาที่ต่้า
              ซึ่งระดับการพัฒนาที่รวดเร็วอย่างก้าวกระโดดนั้นเอง เป็นผลท้าให้เกิดความเหลื่อมล้้าของรายได้ที่เพิ่มสูงมากขึ้น


              โดยผลการศึกษาที่ได้ เกิดในหลายช่วงเวลา และพบได้ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและต่้าที่มีผลในลักษณะ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28