Page 27 - kpi20896
P. 27

26



              ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อความเหลื่อมล้้า ซึ่งจะท้าลายโครงสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเป็นหน้าที่ของนักนโยบาย

              ภาครัฐของกลุ่มประเทศก้าลังพัฒนาทั่วโลก


                         2.1.2.2 ปัจจัยด้านการเมือง  ในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น ปัจจัยทางการเมือง

              เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งในทุกระดับของสังคม  รวมถึงในระดับนโยบาย ซึ่งประเด็นการกระจายรายได้

              ที่ไม่เสมอภาคโดยมีผลจากการเมือง สามารถสรุปเพื่อน้าเสนอได้ดังนี้


                             อุดมการณ์ทางการเมือง  อุดมการณ์ทางการเมืองมีส่วนส้าคัญอย่างยิ่งในการก้าหนด

              ทิศทางของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า ซึ่งสิทธิพลเมืองและการมีส่วนร่วม

              ได้รับการพัฒนาแล้ว ย่อมส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น เพราะประชาชนรู้สิทธิของตนและแสดงออก

              อย่างถูกวิธี และในระดับที่ย่อยลงกว่า อุดมการณ์ทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมหรือเสรีนิยมของรัฐบาลที่ได้

              ถือครองอ้านาจ ก็อาจส่งผลต่อการกระจายรายได้เช่นกัน  เนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองสามารถก้าหนด

              บทบาทการแทรกแซงหรือกิจกรรมของรัฐได้ เช่น ส้าหรับอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่เชื่อว่าการเข้ามาแทรกแซง

              ของรัฐท้าให้เกิดความเท่าเทียม และส้าหรับอนุรักษ์นิยมใหม่ที่ไม่พยายามเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาด เหล่านี้

              ท้าให้เกิดผลต่อการกระจายรายได้ทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยมีผลให้เกิดปมปัญหา

              ที่ส้าคัญที่สุด นั่นคือ “Median Voter” ที่หมายถึงการที่พรรคการเมืองต่างพยายามรักษาฐานเสียงเพื่อให้ตน

              ได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามา ท้าให้ “เกิดการกระจายผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรมและไม่มีเหตุผลรองรับ”

              ซึ่งแนวคิดแบบเสรีนิยมและการสะสมทุนเป็นกลไกส้าคัญที่เร่งให้เกิดความเหลื่อมล้้าทางรายได้ของคนรวยและ

              คนจน (Haskel and Szimanski, 1993; Boix, 2001; Sirowy and Inkeles, 1990)


                            อย่างไรก็ตามในอีกแง่มุมหนึ่ง นักวิชาการต่างลงความเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบที่เอื้อ

              ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากที่สุด และพบรายงานที่ชี้ให้เห็นว่าการสนับสนุนให้เกิดสิทธิเสรีภาพในสังคม

              ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้้าทางรายได้ที่น้อยลง ผ่านกระบวนการทางการเมือง (Gradstein and Milanovic,

              2002; Li, Squire and Zou, 1998; Lundberg and Squire, 2003) นอกจากนี้ยังพบหลักฐานอีกว่า ระดับ

              ของการรวมศูนย์อ้านาจในแต่ละพื้นที่ มีผลต่อการกระจายตัวของรายได้ที่แตกต่างกัน ดังเช่น ในพื้นที่ที่มี

              ขอบเขตการมีส่วนร่วมของชุมชนสูง จะมีระดับความเหลื่อมล้้าที่ต่้ากว่า (Nielsen and Alderson, 1995;

              Durham, 1999; Higgins and Williamson, 1999) รวมถึงการพบว่าดัชนีความเหลื่อมล้้ามีความเกี่ยวข้องกับ

              ระยะเวลาของความเป็นประชาธิปไตย และระดับความเป็นเสรีนิยมของความเป็นประชาธิปไตย (Muller,

              1988; Stewart and Berry, 2000) ในอีกส่วนหนึ่งได้มีนักวิชาการเสนอให้ใช้ดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาล (Good

              Governance) เป็นตัวแทนความก้าวหน้าทางประชาธิปไตยเพื่อทดสอบกับตัวแปรที่สนใจเช่นกัน
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32