Page 30 - kpi20896
P. 30
29
ดังนั้น ประเทศที่ปรับตัวได้น้อยกว่าและมีศักยภาพน้อยกว่า จะได้รับผลกระทบจากการค้าขายระหว่างประเทศ
ในระบบเปิดมากกว่า ทั้งนี้ปัจจัยโลกาภิวัตน์ส่งผลต่อประเทศในเรื่องความเจริญทางเศรษฐกิจได้ด้วย 2 วิธีการ
คือ ผ่านการลงทุนและการเงินระหว่างประเทศ และอีกส่วนคือผ่านการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งผู้เขียนขอน้าเสนอ
งานส้าคัญดังนี้
Cameron (1978) ศึกษากลุ่มประเทศ OECD 18 ประเทศ ระหว่างปี ค.ศ.1960-1975
พบว่าสาเหตุของการขยายตัวของรายจ่ายสาธารณะ เกิดขึ้นจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของรายจ่ายด้าน
สวัสดิการสังคมในประเทศเหล่านั้น ซึ่งมีสาเหตุหลายประการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่น
1) การที่ประเทศเหล่านี้ต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศในอัตราที่สูง (Openness of Economy) ท้าให้
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศขึ้น ก็มักจะได้รับผลกระทบที่รุนแรง 2) การที่มีการ
ขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่สูง และ 3) การมีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง จากสาเหตุดังกล่าวจึงท้าให้รัฐบาล
ของประเทศที่พัฒนาแล้วต้องเข้ามาจัดสรรรายจ่ายสาธารณะในด้านสวัสดิการสังคม (Welfare Spending)
ในสัดส่วนที่สูงเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
ที่เกิดขึ้นซึ่งท้าให้เกิดการขยายตัวของรายจ่ายสาธารณะในประเทศดังกล่าว
Stewart (1999) อธิบายผลของโลกาภิวัตน์ว่าท้าให้การกระจายรายได้แย่ลงด้วยการ
วัดความเป็นโลกาภิวัตน์จาก 2 ลักษณะคือ การเปิดเสรีทางการค้า และการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
โดยที่การเปิดเสรีทางการค้ามีผลท้าให้การกระจายรายได้แย่ลง เนื่องจากการค้าเสรีท้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในเทคโนโลยีซึ่งจะท้าให้แรงงานที่มีฝีมือและมีการศึกษามีรายได้เพิ่มขึ้นเร็วกว่าแรงงานไร้ฝีมือและการศึกษาต้่า
ลักษณะเช่นนี้ย่อมท้าให้การกระจายรายได้แย่ลง ในขณะที่การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศทั้งในรูปของ
เงินลงทุนโดยตรง (Direct Investment) เช่น การย้ายฐานการผลิตจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง
รวมทั้งการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างตลาดเงินและตลาดทุนผ่านการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน (หุ้นและ
ตราสารหนี้) จะมีความผันผวนสูงเนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายได้เร็วและง่าย ซึ่งถ้าหากเงินทุนที่เคลื่อนย้าย
เข้าออกมีปริมาณมหาศาล ย่อมส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจให้เกิดการผันผวนมากตามไปด้วย
ซึ่งความสามารถในการรับมือกับความผันผวนที่เกิดขึ้นนี้ มีไม่เท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มคนต่างชั้นรายได้ของ
สังคม โดยเฉพาะคนจนที่มีรายได้และความมั่นคงในอาชีพต้่า มักจะได้รับผลในทางลบมากกว่าคนกลุ่มอื่น
ในสังคม ในขณะที่กลุ่มคนที่มีรายได้สูง หรือผู้ประกอบการอาจจะได้รับประโยชน์เมื่อความผันผวนเป็นไปใน
ทางบวกมากกว่า